สันตินวัตกรรมการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความภักดีของลูกค้าสำนักงานสอบบัญชี

Main Article Content

สุทธิศักดิ์ จิวะวิศิษฎ์นนท์
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น แนวคิดทฤษฎีและ  หลักพุทธสันติวิธีในการพัฒนาการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความภักดีของลูกค้าสำนักงานสอบบัญชี 2) เพื่อพัฒนาสันตินวัตกรรมการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความภักดีของลูกค้าสำนักงานสอบบัญชี ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน แบบ exploratory sequential design โดยการการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 26 คน สนทนากลุ่มเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ใช้เกณฑ์คัดเลือกแบบเจาะจง ทดลองนำร่องด้วยการปฏิบัติการอบรมผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี จำนวน 12 คน วัดผลด้วยแบบประเมินการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความภักดีของลูกค้าสำนักงานสอบบัญชี วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยค่าสถิติ t-test ประกอบกับ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสะท้อนความคิดของผู้เข้าร่วมอบรม


ผลการวิจัยพบว่า 1) สำนักงานสอบบัญชีมีการแข่งขันทางด้านราคาระหว่างกัน ส่งผลให้สำนักงานสอบบัญชีประสบปัญหาเรื่องการสร้างความภักดีของลูกค้าสำนักงานสอบบัญชี และนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีศาสตร์สมัยใหม่ ได้แก่ คุณภาพการสอบบัญชี การสื่อสารที่สร้างความภักดีด้วยการผ่อนคลายและเป็นมิตร โดยนำหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความภักดีของลูกค้าสำนักงานสอบบัญชี คือ หลักสังคหวัตถุ 4 และ หลักวาจาสุภาษิต 2) การสร้างสันตินวัตกรรมการสื่อสาร เพื่อเสริมสร้างความภักดีของลูกค้าสำนักงานสอบบัญชี ด้วยหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2 วัน และกระบวนการติดตามผล 21 วัน โดยมีเนื้อหาอบรมประกอบด้วย 1) ตระหนักความสำคัญของการสื่อสาร 2) การสื่อสารที่เป็นมิตร 3) เข้าใจความคาดหวังลูกค้า 4) ความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ 5) การบริหารการสื่อสารระหว่างกัน 6) ความเมตตาในการสื่อสาร ผลการทดลองพบว่า ค่าเฉลี่ยการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความภักดีของลูกค้าสำนักงานสอบบัญชี หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่า t = 2.54 องค์ความรู้ที่ได้ “AUDIT Model”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

AMT Audit Group. (2023). What Is an Auditing Company or Auditing Firm? Retrieved April 2, 2023, from https://www.amtaudit.com/view_news.php?id=572

Bloemer, J., de Ruyter, K., & Wetzels, M. (1999). Linking Perceived Service Quality and Service Loyalty: A Multi-Dimensional Perspective. European Journal of Marketing, 33(11), 1082-1106.

Dick A, S., & Basu, K. (1994). Customer Loyalty: Toward an Integrated Conceptual Framework. Journal of the Academy of Marketing Science, 22(2), 99-113.

Eckerwall A., & Karlsson C. (2021). Fostering a Growth Mindset in Organizations. Sweden: Lund University.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Matsuoka, K. (2023). Effects of Revenue Management on Perceived Value, Customer Satisfaction, and Customer Loyalty. Journal of Business Research, 12(5), 131-148.

Pattaramontri, U. (2005). Modern Internal Auditing. Bangkok: Kasetsart University.

Stavros, M., & Hinrichs, G. (2009). The Thin Book of SOAR: Building Strengths Based Strategy (Vol.1). Oregon: Thin Book Publishing.

Sunphichai, T. (2020). Factors Affecting Client’s Loyalty in Audit Firms Providing Services for Non-Listed Companies. (Master’s Thesis). Chiang Mai University. Chiang Mai.

Thammasat Consulting Networking and Coaching Center. (2023). The Result of Value of Audit Project. Retrieved July 2, 2023, from https://www.sec.or.th/TH/Documents/Seminars/seminar-021265-04.pdf>

Thitanano, D. (2024). Lecturer of Department of Religion and Philosophy in Faculty of Buddhism, Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Interview. January 3.

Vittaya, A. (2023). Auditor and Director of Balance Audit Firm. Interview. September 20.

W. W. Norton Sapir, E. (1993). Communication. In E. R. A. Seligman. & A. Johnson (Eds.). Encyclopedia of the Social Science. (Vol.4). New York: Macmilan.

Webster, G., & Sundaram. D, S. (2009). Effect of Service Provider’s Communication Style on Customer Satisfaction in Professional Services Setting: The Moderating Role of Criticality and Service Nature. Journal of Services Marketing, 23(2), 103-113.