รูปแบบการพัฒนาทุนมนุษย์สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคนิคเดลฟาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

Main Article Content

พันธ์ชิด ธรรมพิชัย
ชัยวิชิต เชียรชนะ
สยาม แกมขุนทด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาทุนมนุษย์สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคนิคเดลฟาย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบทุนมนุษย์สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคนิคเดลฟาย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงผสานวิธี ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่คณบดี และรองคณบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 20 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์


ผลการวิจัย พบว่า การศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาทุนมนุษย์สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วยการสังเคราะห์เนื้อหาจากแนวคิด ทฤษฎี แล้วนำมากำหนดประเด็นในการสัมภาษณ์ให้ครอบคลุมทฤษฎีโดยใช้เทคนิคเดลฟาย จากแบบสัมภาษณ์ตามทฤษฎี Delphi Technique จำนวน 3 รอบ ดังนี้ (รอบที่ 1) ศึกษาความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์เชิงลึกลักษณะปลายเปิดให้แสดงความคิดเห็น จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 20 คน ให้ได้ขั้นต่ำ 17 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (รอบที่ 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิม โดยนําข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม รอบที่ 1 มาวิเคราะห์เพื่อหาค่า (Rating Scale Questionnaire) โดยคัดเลือกข้อความที่มีค่ามัธยฐานตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์น้อยกว่า 1.50 (รอบที่ 3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิม โดยนําข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม รอบที่ 2 มาวิเคราะห์ เพื่อหาค่า (Rating Scale Questionnaire) โดยคัดเลือกข้อความที่มีค่ามัธยฐาน ตั้งแต่ 4.50 ขึ้นไป และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ น้อยกว่า 1.00 ทำให้ได้รูปแบบการพัฒนาทุนมนุษย์สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเดลฟาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

Article Details

How to Cite
ธรรมพิชัย พ., เชียรชนะ ช. ., & แกมขุนทด ส. . (2024). รูปแบบการพัฒนาทุนมนุษย์สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคนิคเดลฟาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(6), 2393–2403. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/275527
บท
บทความวิจัย

References

Baumgart, N., & Kaluge, L. (1987). Quality in Higher Education: Inputs. in Baumgart, N. (ed.) Equity, Quality and Cost in Higher Education. Bangkok: UNESCO Principal Regional Office for Asia and the Pacific.

Cheng, Y. C. (1993). Profiles of Organizational Culture and Effective School. School Effectiveness and School Improvement, 4, 85-110.

Conrad, C. F., & Blackburn, R. T. (1985). Program Quality in Higher Education: A Review and Critique of Literature and Research. in Smart, J. C. (ed). Higher Education: Handbook of Theory and Research, Vol. 1, (283-308). New York: Agathon.

Jensen, C. (1996). Delphi in Depth: Power Techniques from the Experts Berkeley. Berkeley, CA: Mcgraw-Hill.

Johnson, D., Meller, L., & Summers, G. (1987). Needs Assessment: Theory and Methods. Ames, IA: Iowa State University Press.

Keeves, P. J. (1988). Model and Model Building Education Research, Methodology and Measurement: An International Handbook. Oxford: Pegamon Press.

Montha, K. (2018). Factors Effecting the Quality of School under the Office of Bangkok Primary Education Service Area. (Doctoral Dissertation). Siam University. Bangkok.