การพัฒนาสื่อของอินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย

Main Article Content

นรินทร์ ลาภอนันต์
จอมขวัญ สุวรรณรักษ์
จุฑามาศ พีรพัชระ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์การสร้างสื่อของอินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณลักษณะกับด้านกลยุทธ์การสื่อสารในการพัฒนาสื่ออินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทยและ3)พัฒนารูปแบบสื่อด้านคหกรรศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ติดตามช่องยูทูปด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย จำนวน 14 เพจ ซึ่งมีผู้ติดตามตั้งแต่ 1.58 หมื่นคน ถึง 2.54 แสนคน และเคยเข้ารับชมสื่อออนไลน์ด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสุ่มของเครซี่และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ระดับความคลาดเคลื่อน ± ร้อยละ 5 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญด้วยความสมัครใจเพื่อให้ได้ตรงตามจำนวนที่ต้องการ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ


ผลการศึกษาสภาพการณ์การสร้างสื่อของอินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุต่ำกว่า 20 ปี การศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี อาชีพนักเรียน/นิสิต/นักศึกษา รายได้ 20,001-30,000 บาท สถานภาพโสด เลือกชมสื่องานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทยผ่านช่องทางยูทูป เรื่องมาลัยสองชาย ดูผ่านสื่อออนไลน์น้อยกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และปัจจัยที่เลือกชมงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทยคือ ด้านการสร้างสรรค์ สำหรับระดับความสำคัญด้านคุณลักษณะของอินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย พบว่า ในภาพรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านความเชี่ยวชาญ ด้านความเคารพ ด้านความไว้วางใจ ด้านความดึงดูดใจ และด้านความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมาย ส่วนระดับความสำคัญด้านกลยุทธ์การสื่อสารของอินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทยในภาพรวมและรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อยคือ ด้านการปฏิสัมพันธ์ ด้านประโยชน์ ด้านเนื้อหา ด้านการสร้างสรรค์ และด้านความเฉพาะเจาะจง ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณลักษณะของอินฟลูเอนเซอร์กับกลยุทธ์การสื่อสารด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทยในการพัฒนาสื่อด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย พบว่า มีตัวแปรทำนาย 5 ตัว คือ ด้านความเชี่ยวชาญ ด้านความไว้วางใจ ด้านความดึงดูดใจ ด้านความเคารพ และด้านความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมาย สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณลักษณะของอินฟลูเอนเซอร์ในการพัฒนาสื่อด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีอำนาจทำนายประมาณร้อยละ 42.60 และผลการพัฒนารูปแบบสื่อด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์จากผลการวิจัยข้างต้นผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างสื่อประเภทยูทูปด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทยประเภทดอกไม้สด เรื่อง การประดิษฐ์มาลัยร้อยรัก โดยใช้เทคนิคการบรรยายด้วยภาพ ความยาว 8 นาที โดยนำไปเผยแพร่ในช่องทาง ยูทูป 3 เพจ เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ มีผู้รับชมรวม 294 คน กดถูกใจ like รวม 125 คน กดติดตาม รวม 93 คน และให้คำแนะนำหรือมีข้อคำถาม รวม 1 คน

Article Details

How to Cite
ลาภอนันต์ น. ., สุวรรณรักษ์ จ. ., & พีรพัชระ จ. . (2024). การพัฒนาสื่อของอินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(6), 2292–2306. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/275393
บท
บทความวิจัย

References

Cabinet Secretariat. (2018). Master Plan of National Development or National Strategy, 20 Years (2018-2037). Retrieved January 15, 2024, from https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF

Inthasang, Ch., & Nilsamuk, P. (2023). The Influence of Social Media on Firm Performance of Hotels Business in Thailand. Humanity and Social Science Journal, Ubonratchathani University, 14(2), 239-260.

Kemkaman, N. (2020). Guidelines to Develop Digital Literacy for Teachers under Secondary Educational Service Area Office 7. (Master’s Thesis). Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Pathum Thani.

Nimkrut, S. (2017). The Communication Process, Network Creation and Parasocial Interaction of Korean Fanclub via Twitter in Thailand: A Case Study of TVXQ. (Master’s Thesis). Dhurakij Pundit University. Bangkok.

Office of the Education Council. (2017). National Education Plan 2017-2036. (1st ed.). Bangkok: Office of Council of State.

Office of the National Economic and Social Development Council. (2022). National Economic and Social Development (The Thirteenth Plan (2023-2027). Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Council.

Piemkaroon, P. (2023). Media and Communication Learning to Develop to Be Influencers of Generation Z. College of Social Communication Innovation Srinakharinwirot University, 11(1), 107-118.

Rodplang, P. (2021). The Developing Online Marketing Channels of Ngob Products, Basketry Products Group Ngobthai-Laongeaw Thong-En, Inburi District, Singburi Province. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(3), 35-45.

Suwannasri, P., Suwannasri, P., Kankhat, S., & Patcharatanaroach, S. (2021). Conservation of the Handicraft Lanna Wisdom in the Ban Tawai Community by Using Multimedia. Rajabhat Chiang Mai Research Journal, 21(2), 144-156.