การพัฒนาสื่อด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์ผ่านผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์

Main Article Content

ปวีณ์นุช ถึงเจริญ
จอมขวัญ สุวรรณรักษ์
จุฑามาศ พีรพัชระ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาวะการณ์ในการสร้างสื่อของผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์ด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์ 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณลักษณะกับปัจจัย ด้านกลยุทธ์การสื่อสารในการพัฒนาสื่อด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์ผ่านผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์ และ 3) พัฒนารูปแบบสื่อการเรียนรู้ด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ติดตามช่องยูทูบด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์ จำนวน 6 เพจ ซึ่งมีผู้ติดตามตั้งแต่ 7.10 หมื่นคน ถึง 4.73 แสนคน และเคยเข้ารับชมสื่อออนไลน์ด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์ อย่างน้อย 3 ครั้งจำนวน 402 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญด้วยความสมัครใจเพื่อให้ได้ตรงตามจำนวนที่ต้องการ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ


ผลการศึกษาวิจัยมีดังนี้ 1) สภาวการณ์การสร้างสื่อออนไลน์ในการรับชมสื่อคหกรรมศาสตร์ผ่านผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์ พบว่า ผู้รับชมส่วนใหญ่เลือกรับชมงานประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ เรื่อง ของตกแต่ง เช่น ดอกไม้กระดาษ โมบาย ผ่านช่องทางยูทูบ โดยใช้เวลาในการรับชมจะรับชมวีดิทัศน์ประมาณ 5-10 นาที สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ช่วงเวลาในการรับชมเวลา 16.01-20.00 น. 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณลักษณะกับปัจจัยด้านกลยุทธ์การสื่อสารในการพัฒนาสื่อด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์ ผ่านผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์ พบว่า ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์ ได้แก่ ด้านความไว้วางใจ ด้านความเคารพ ด้านความเชี่ยวชาญ ด้านความดึงดูดใจ และด้านความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลต่อปัจจัยด้านกลยุทธิ์การสื่อสาร ได้แก่ ปัจจัยด้านเนื้อหา ปัจจัยด้านประโยชน์ ปัจจัยด้านความเฉพาะเจาะจง ปัจจัยด้านการปฏิสัมพันธ์ และปัจจัยด้านการสร้างสรรค์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
ถึงเจริญ ป. ., สุวรรณรักษ์ จ. ., & พีรพัชระ จ. . (2024). การพัฒนาสื่อด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์ผ่านผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(6), 2250–2262. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/275392
บท
บทความวิจัย

References

Buakong, C., & Prommasit, S. (2018). Relationships between Consumer Attitudes towards Influencer on Socia Media and Intentions to Use the Restaurant Service after View Thai Consumer Reviews. (Master's Thesis). Srinakharinwirot University. Bangkok.

Educational influencers. (2023). Educational Influencers Not Just Sharing Knowledge but It Can Help the Brand. Retrieved August 9, 2023, from https://www.influencerhouse.co.th/thai

Muangtum, T. (2022). Summary of 52 Important Insights from Thailand Digital Stat 2022 of We Are Social. Marketing One Episode a Day. Retrieved May 3, 2023, from https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/insight-thailand-digital-stat-2022-we-are-social/

Samran, L., & Kongyod, T. (2022). Guidelines for Improving Service Quality and Efficiency Affecting the Repeat Service Decisions of Customers at Hang Nam Sakorn Post Office, Manorom District, Chai Nat Province. (Report Research). Phra Nakhon Si Ayutthaya: Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi.

Schwab, K. (2018). The Fourth Industrial Revolution. Bangkok: Amarin Publishing House.

Songpra, Ch., Chailor, Ch., & Hasin, N. (2016). Waste Disposal to Applied in Home Economics: Case Study of Creativity Inventions from Paper, Box, Tire. (Report Research). Bangkok: Kasetsart University.