การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้การคิดเชิงนวัตกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้การคิดเชิงนวัตกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมให้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงนวัตกรรม ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้การคิดเชิงนวัตกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 มีนักเรียนจำนวน 46 คน จัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และกลุ่มควบคุม เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 มีนักเรียนจำนวน 46 คน จัดการเรียนการสอนแบบปกติในห้องเรียน โรงเรียนราษฎร์บำรุงศิลป์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การคิดเชิงนวัตกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 เล่ม แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 24 แผน มีค่า IOC เท่ากับ 0.5-1.00 แบบประเมินการคิดเชิงนวัตกรรม แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลและตรวจสอบสมมติฐานโดยใช้การหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การคิดเชิงนวัตกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นไปตามเกณฑ์ที่ กำหนด 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การคิดเชิงนวัตกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การคิดเชิงนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การคิดเชิงนวัตกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) ความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การคิดเชิงนวัตกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน อยู่ในระดับมากขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ = 3.61 และ S.D. = 0.51
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Jaiboae, A., & Yurayat, Ph. (2021). The Development of Learning Packages of STEM Education to Enhance Learning Achievement and Science Process Skills for Matthayomsuksa 1 Students. Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University, 4(11), 114-125.
Jatuporn, W. (2018). Alternative School and Learning Management for 21st Century Learners. Journal of Education Khon Kaen University, 41(2), 1-17.
Jitrach, Ch. (2020). The Development of Problem Solving Ability and Creative Thinking Using STEM- 6E Learning with Social Media in Biology of 10 Grade Students. The 21st National Graduate Research Conference at Khon Kaen University on March 27, 2020 (pp. 797-809). Khon Kaen University. Khon Kaen.
National Institute of Educational Testing. (2021). Summary of Results of National Educational Testing. Basic (O-NET) Mathayom 3, Academic Year 2021. Retrieved June 18, 2022, from https://www.niets.or.th
Phra Nakhon Si Ayutthaya Provincial Education Office. (2022). Educational Information, Year Education 2021. Retrieved June 18, 2022, from http://122.155.209.106/aya/index.php
Pleonphana, A. (2018). Development of STEM Activity Packages on Simple Machines to Enhance Creative Problem Solving Ability and the Learning Happiness of Ninth Grade Students in Special Classrooms. (Master's Thesis). Srinakharinwirot University. Bangkok.
Secretariat of the Education Council, Independent Committee for Educational Reform. (2019). Quality of Thai Education. Retrieved June 18, 2022, from https://www.thai edreform.org/wp-content/uploads/2020/01/CommissionReport03.pdf
Sompong, T. (2020). Development of Self-Directed Learning Activity Sets on Types and the Function of Words in the Thai Language Learning Group for Mathayom 1 Students. (Master’s Thesis). Sakon Nakhon Rajabhat University. Sakon Nakhon.
The National PISA Center, Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2021). PISA 2018 Assessment Results: Reading, Mathematics, and Science. Bangkok: Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST).