การพัฒนาเกณฑ์ปกติของแบบวัดวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

สุมาลี ขำอิน
พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์
วิไลลักษณ์ ลังกา

บทคัดย่อ

บทความวิจัย เรื่อง การพัฒนาแบบวัดและการเสริมเสร้างวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคะแนนวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโดยรวมและรายด้าน 2) เพื่อพัฒนาเกณฑ์ปกติของแบบวัดวุฒิภาวะทางอาชีพโดยรวมและรายด้านได้แก่ ด้านการวางแผนอาชีพ ด้านการสำรวจอาชีพ ด้านการตัดสินใจ และด้านข้อมูลของโลกการทำงานของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อประเมินระดับวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วยโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1, 2 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2, โรงเรียนในสังกัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1,245 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การวางแผนอาชีพ การสำรวจอาชีพ การตัดสินใจ และข้อมูลของโลกการทำงาน จำนวน 32 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง และค่า T-Score


ผลการวิจัย พบว่า คะแนนวุฒิภาวะทางอาชีพโดยภาพรวมและรายด้านได้แก่ ด้านการวางแผนอาชีพ ด้านการสำรวจอาชีพ ด้านการตัดสินใจ และด้านข้อมูลของโลกการทำงาน ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา    ตอนปลายมีวุฒิภาวะทางอาชีพอยู่ในระดับค่อนข้างสูง มีเกณฑ์ปกติของแบบวัดวุฒิภาวะทางอาชีพโดยรวม  ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีช่วงคะแนนที ตั้งแต่ T14.52 ถึง T68.88 (P.02 - P97.05) และเกณฑ์ปกติของแบบวัดวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนอาชีพ มีช่วงคะแนนที ตั้งแต่ T16.06 ถึง T67 (P.03 - P95.55) ด้านการสำรวจอาชีพ มีช่วงคะแนนที ตั้งแต่ T19.20 ถึง T67.06 (P.10 - P95.60) ด้านการตัดสินใจ มีช่วงคะแนนที ตั้งแต่ T7.27 ถึง T69.06 (P.01 - P97.17) และด้านข้อมูลของโลกการทำงาน มีช่วงคะแนนที ตั้งแต่ T18.20 ถึง T66.89 (P.07 - P95.44) และมีระดับวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น ดังนี้ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีวุฒิภาวะทางอาชีพโดยรวมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 25.62) เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนอาชีพ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 29.40) ด้านการสำรวจอาชีพ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 29.72) ด้านการตัดสินใจ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ร้อยละ 29.88) และด้านข้อมูลของโลกการทำงาน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 29.64)

Article Details

How to Cite
ขำอิน ส. ., ศรีสวัสดิ์ พ. ., & ลังกา ว. . (2024). การพัฒนาเกณฑ์ปกติของแบบวัดวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(5), 1954–1970. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/274570
บท
บทความวิจัย

References

Boonsathirakul, J. (2021). Life Career Development. Bangkok: Cyber Print Group Co., Ltd.

Chulasap, N. (2015). Career Guidance. Songkla: Nam Arts Advertising.

Education Office Bangkok. (2021). Educational Statistics Report, Academic Year 2021, Schools under Bangkok. Retrieved May 3, 2023, from https://webportal.bangkok.go.th/upload/user/00000116/PTay/EbookStat64.pdf

Kanjanawasee, S. (2007). Traditional Testing Theory. (5th ed.). Bangkok: CU Press.

Kemp, S. (2023). Digital 2023: Thailand Report. Retrieved May 3, 2023, https://data reportal.com/reports/digital-2023-thailand

Kine, P. (1986). A Handbook of Test Construction: Introduction to Psychometric Design. London: Methuen.

Ministry of Labor. (2015). 200 Career Information that the Labor Market Needs. Bangkok: Employment Promotion Division, Department of Employment, Ministry of Labor.

Nunnally, J. (1967). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.

Office of the Royal Society. (2021). Royal Institute Dictionary. (2nd ed.). Bangkok: Tana Press Co., Ltd.

Patton, W., Creed, P., & Spooner-Lane, R. (2005). Validation of the Short Form of the Career Development Inventory - Australian Version with a Sample of University of Students. Australian Journal of Career Development, 14(3), 49-59.

Phrommaphan, B. (2005). Components of a Standardized Test. In the Teaching Document for the Course on Developing Academic Achievement Tests, Units 8-15, pp. 565-569. Bangkok: Sukhothai Thammathirat University.

Piyaphimolsit, C. (2009). Measurement Theory and Testing. (Research Report). Songkla: Faculty of Education, Thaksin University.

Ringwald, A. (2015). 3 Ways to Fix our Broken Training System. Retrieved February 20, 2023, from https://www.weforum.org/agenda/2015/01/three-ways-to-fix-our-broken-training-system

Sadeghi, A. et al. (2011). Validation of the Short Form of the Career Development Inventory with an Iranian High School Sample. International Journal for Educational and Vocational Guidance, 11(1), 29-38.

Secondary Educational Service Area Office Bangkok, Area 1. (2023). Contact Information for Schools under Area 1. Retrieved February 20, 2023, from http://www.sesao1.go.th

Secondary Educational Service Area Office Bangkok, Area 2. (2023). Contact Information for Schools under Area 2. Retrieved February 20, 2023, from http://www.sesao2.go.th

Sharf, R. S. (2013). Applying Career Development Theory to Counseling. (6th ed.). USA: Books/Cole/Cengage Learning.

Sugiyarlin, S., & Supriatna, M. (2020, February). Adolescent’s Career Maturity. In Diversity in Education. (pp. 232-235). Pendidikan Indonesia, Atlantis Press.

Wikipedia. (2022). List of Schools in Bangkok. Retrieved May 3, 2023, from https://th.wikipedia.org/wiki/List

World Economic Forum. (2023). Future of Jobs Report 2023. Retrieved May 3, 2023, from https://www3.weforum.org/docs/WEF_Future_of_