การพัฒนาการตรวจสอบพยานหลักฐานการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามหลักอริยสัจ 4 ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

Main Article Content

ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์หลักอริยสัจ 4 ในการตรวจสอบพยานหลักฐานการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของคณะกรรมการการเลือกตั้ง 2) เพื่อพัฒนาการตรวจสอบพยานหลักฐานการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามหลักอริยสัจ 4 ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง 3) เพื่อวิเคราะห์ทิศทางและแนวโน้มการพัฒนาการตรวจสอบพยานหลักฐานการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามหลักอริยสัจ 4 ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง 4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการตรวจสอบพยานหลักฐานการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามหลักอริยสัจ 4 ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยใช้การวิจัยเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง สัมมนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญทางด้านรัฐศาสตร์และทางด้านนิติศาสตร์ จำนวน 10 รูป/คน วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าประกอบกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์และสัมมนากลุ่มเฉพาะมาศึกษาวิเคราะห์ตามขอบเขตของการวิจัย โดยการสังเคราะห์จากเอกสาร นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์แบบอุปมัย และนำเสนอสรุปการวิจัย


ผลการวิจัยพบว่า 1. การบูรณาการอริยสัจ 4 เป็นการนำแนวคิดทฤษฎีของหลักธรรม “ทุกข์” ผู้ร้องแสวงหาหลักฐานในการร้องคัดค้านผลการเลือกตั้ง ผู้ถูกร้องคิดวิธีกลยุทธ์ทางการเมืองเพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดการเลือกตั้งและควบคุมดูแลการเลือกตั้งโดยสุจริตและเที่ยงธรรม “สมุทัย” ผู้ร้องอาจสร้างพยานหลักฐานเท็จ ผู้ถูกร้องอาจใช้เทคนิควิธีการจูงใจผู้มีสิทธิการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องกลั่นกรองพยานหลักฐานให้รอบด้าน “นิโรธ” ผู้ร้องต้องไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ถูกร้อง ผู้ถูกร้องต้องไม่ทุจริตการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องมีกระบวนการสืบสวนหรือไต่สวนตรวจสอบและรับฟังพยานหลักฐาน มีความเป็นกลาง โปร่งใส และ “มรรค” ผู้ร้องจะต้องไม่กลั่นแกล้งทางการเมือง ผู้ถูกร้องให้ถ้อยคำต่อความเป็นจริง 2. การพัฒนาการตรวจสอบพยานหลักฐาน เป็นการตรวจสอบภายในองค์กร แบ่งเป็น 3 ชั้น ได้แก่ คณะกรรมการสืบสวนและไต่สวน คณะอนุกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งและคณะกรรมการการเลือกตั้ง ควรให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสืบสวนหรือไต่สวน 3. ทิศทางและแนวโน้ม ควรให้คณะกรรมการภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสืบสวนและไต่สวน นำเทคโนโลยีขั้นสูงมาตรวจสอบ วิเคราะห์พยานหลักฐาน การให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ร้องและผู้ถูกร้อง โดยเปิดโอกาสนำพยานหลักฐานมาเข้าสู่สำนวนเต็มที่ 4. แนวทางการพัฒนาการตรวจสอบพยานหลักฐาน ประกอบด้วย 3 แนวทาง ได้แก่ แนวทางการตรวจสอบภายในองค์กร องค์กรตุลาการและภาคประชาชน

Article Details

How to Cite
วงศ์เนียม ณ. . (2024). การพัฒนาการตรวจสอบพยานหลักฐานการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามหลักอริยสัจ 4 ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(5), 1867–1879. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/273932
บท
บทความวิจัย

References

Chueathai, S. (2016). Introduction to Public Law. (13th ed.). Bangkok: Thammasat University.

Davies M., Hazel C., & Jane T. (2005). Criminal Justice System in England and Wales. (3rd ed.). Harlow, England: Pearson Education.

Inthasara, W. (2005). Buddhist Logic. Bangkok: Thammada.

Mektrairat, N., & Chaiyachit, C. (2009). Referendum: Direct Democracy. King Prajadhipok's Institute Journal, 7(3), 5-40.

Mooksong, C. (2021). Medicine and Public Health During the Reign of King Prajadhipok 1925-1934. Bangkok: King Prajadhipok's Museum King Prajadhipok's Institute.

Muangjeen, J. (2009). Guidelines for Developing the Investigation System in the Supreme Court's Criminal Division for Persons Holding Political Positions. (Master’s Thesis). Ramkhamhaeng University. Bangkok.

Organic Act on the Election Commission B.E. 2560. (2017). Government Gazette. (13th September B.E. 2560). Vol. 134 Part 93 Gor. pp. 1-31.

Pakeerath, W. (2011). Administrative Law: General Section. Bangkok: Nitirat.

Phrasamuh Phutthiphong Buddhivaso. (2023). Assistant Abbot of Bang Kung Temple and Lecturer at the Sangha College, Uthai Thani Province. Interview. July, 5.

Ratamrit, U. (2000). Open Trial: Principles and Exceptions to the French Criminal Procedure Law. Thammasat Law Journal, 20(1), 68-69.

Singkaneti, B. (2020). General Knowledge about the Constitutional Court. (3rd ed.). Bangkok: National Institute of Development Administration.

Wuttiso, P. (2023). Lecturer at Chaiyaphum Rajabhat University. Interview. July, 5.