มาตรการทางกฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาความหมาย แนวคิดทฤษฎี แนวคำพิพากษาของศาลที่เกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และต่างประเทศ คำพิพากษาของศาล มาตรการทางกฎหมายและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อศึกษาปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญา 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาของไทยและต่างประเทศ 4) เพื่อนำมาตรการทางกฎหมายการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาของต่างประเทศที่มีความเหมาะสม เพื่อนำมาปรับใช้กับกฎหมายไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ งานวิจัย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของไทยและของต่างประเทศ มีการจัดทำสนทนากลุ่ม มีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 6 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้พิพากษา 3 คน กลุ่มพนักงานอัยการ 3 คน กลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 คน กลุ่มทนายความ 3 คน กลุ่มเจ้าหน้าที่หน่วยงานกระบวนการยุติธรรม 3 คน กลุ่มประชาชนและนักศึกษา 25 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้เสียหายในคดีอาญาได้รับอิทธิพลจากกฎหมายธรรมชาติและได้รับการพัฒนาในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยนำแนวทางการคุ้มครองสิทธิมาใช้ตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ยังมีการนำหลักกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในปี 2539 มาใช้ในการรับรองสิทธิของผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรม 2) พบปัญหา 4 ประการ ได้แก่ การที่ผู้เสียหายไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลความคืบหน้าของคดี การขาดความชัดเจนของกฎหมายในการเรียกค่าสินไหมทดแทน การไม่ปฏิบัติตามหลักสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ และข้อยกเว้นในกฎหมายเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของผู้เสียหาย ในคดีอาญา 3) เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายระหว่างประเทศและประเทศไทย พบว่ากฎหมายของประเทศเยอรมนี สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ มีระบบที่ชัดเจนในการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย โดยเฉพาะ การแยกกระบวนการสอบสวนและพิจารณาคดี การให้สิทธิผู้เสียหายมีส่วนร่วม การจัดตั้งกองทุนชดเชย และการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) เสนอว่าแนวทางจากต่างประเทศสามารถนำมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในประเทศไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Bureau of Legal Affairs, The Secretariat of the Senate. (2017). Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560. Bangkok: (Green Office) Printing Office, The Secretariat of the Senate.
Conway, H. (2010). Access to Justice for Victims of Crime. Journal of Criminal Law, 74(5), 433-448.
Criminal Procedure Code. (1934, June 6). Royal Gazette. Vol. 52, p.598.
Department of Rights and Liberties Protection. (2018). Ministerial Regulation on the Division of the Department of Rights and Liberties Protection, Ministry of Justice, B.E. 2561. Bangkok: Ministry of Justice.
Dignan, J. (2005). Understanding Victims and Restorative Justice. United Kingdom: Open University Press.
Fattah, E. A. (2010). Victims of Crime: Problems, Policies, and Programs.
USA: Palgrave Macmillan.
Karmen, A. (2016). Crime Victims: An Introduction to Victimology. (9th ed.). USA: Cengage Learning.
Kasa, S. (2021). Protection of Victims’ Rights in Criminal Cases: A Study of Information about Criminal Prosecutions. (Master’s Thesis). Dhurakij Pundit University. Bangkok.
Lloyd-Bostock, S. (2007). Victims in the Criminal Justice System. Law and Society Review, 41(1), 119-144.
Puengchalarugs, V. (1996). Protection of the Injured Persons' Right to Apply for Restitution of the Property or the Value There of in Criminal Cases. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.
Sangsaraphan, W. (2013). The Rights of Crime Victims: A Research of Crime Victims Protecting System Under Thai Criminal Procedural Law. (Doctoral Dissertation). Thammasat University. Bangkok.
Seema, S. (2019). Compensation for Victims in Criminal Cases. Bangkok: The Secretariat of the House of Representatives.
Singkaneti, B. (2019). Fundamental Principles of Rights, Liberties, and Human Dignity. (6th ed.). Bangkok: Winyuchon.
Smith, R. (2019). Justice Denied: Victims in the Criminal Justice System. USA: Springer Press.
United Nations. (1948). Universal Declaration of Human Rights. Retrieved January 16, 2023, from https://www.un.org/en/about-us/universal-declaration-of-human-rights
______. (1966). International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR). Retrieved January 16, 2023, from https://www.ohchr.org/en/professionalinterest/pages/ccpr.aspx
______. (1985). Declaration of Basic Principles of Justice for Victims of Crime and Abuse of Power. Retrieved January 16, 2023, from https://www.un.org/documents/ga/res/40/a40r034.htm
Yurachat, S. (2008). The Injured Persons and their Participation in Criminal Cases. (Master’s Thesis). Dhurakij Pundit University. Bangkok.