การเสริมสร้างพลังชุมชนเพื่อการจัดการสวัสดิการชุมชนในสถานการณ์วิกฤติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ของพลังชุมชนเพื่อการจัดสวัสดิการชุมชนในสถานการณ์วิกฤติ 2. เพื่อเสริมสร้างพลังชุมชนเพื่อการจัดสวัสดิการชุมชนในสถานการณ์วิกฤติ และ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการสร้างพลังชุมชนเพื่อการจัดสวัสดิการชุมชนในการณ์การณ์วิกฤติ เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 60 คน ประกอบด้วย ตัวแทนคนในชุมชน ตัวแทนกลุ่มสวัสดิการในชุมชน และตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้แบบสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม ในการเก็บรวบรวมข้อมูล นำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา และการวิเคราะห์แบบอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า 1. สถานการณ์ของพลังชุมชนเพื่อการจัดสวัสดิการในชุมชนนั้นเป็นการสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นใจแก่คนในชุมชนตำบลน้ำโจ้ ทำให้คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น โดยไม่เน้นเรื่องตัวเงินแบบสงเคราะห์ แต่มุ่งสร้างความมั่นใจอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีความสุข 2. ในการเสริมสร้างพลังชุมชนเพื่อการจัดสวัสดิการชุมชนที่ดี คนในชุมชนร่วมกันมีบทบาทพัฒนากระตุ้นชี้นำให้คนในชุมชนเกิดความคิดริเริ่มในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งผู้ด้อยโอกาสจะได้รับความช่วยเหลือให้มีโอกาสมีส่วนร่วมและสามารถทั้งเป็นผู้ให้และผู้รับอย่างมีศักดิ์ศรี 3. สำหรับรูปแบบการสร้างพลังชุมชนเพื่อการจัดสวัสดิการชุมชนในการณ์การณ์วิกฤติ มีกระบวนการ ดังนี้ 1) สร้างการรับรู้แบ่งปันข้อมูลกับคนในกลุ่ม 2) มีเป้าหมายการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน 3) เน้นส่วนร่วมในการทำงาน 4) สร้างเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ท้องถิ่น ศาสนา (นักพัฒนา)แลกเปลี่ยนประสบการณ์และมีการช่วยเหลือระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ทั้งนี้ ยังสามารถต่อยอดไปสู่การสร้างอาชีพ และ 5) การจัดการที่ดี มีการบริหารงานอย่างโปร่งใส
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chitniratna, N. (2009). Identity and Community Movement: A Case Study of Kaoseang Community in Songkla Province. (Doctoral Dissertation). Naresuan University. Phitsanulok.
Kiratikobmanee, K., & Kheawvichai, K. (2017). An Effectiveness of Integrated Urban Welfare Management Model. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 252-265.
Kongjaroen, M., & Ratana-ubol, A. (2011). Development of a Community Empowerment Model to Promote the Sustainability of Learning Communities. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences (JMSS), 7(2), 19-36.
Lampang Provincial Administrative Organization. (2022). Lampang Provincial Administrative Organization (PAO) Collaborates to Strengthen Communities for a Better Quality of Life for Lampang Residents.Retrieved October 31, 2022, from https://www.lp-pao.go.th/Main60/index.php/2016-11-09-03-56-07/2887-180125651307.html
Maenpayak, A., Laosuwan, T., & Kulbunya, P. (2018). The Reinforcement and Restoration of Social Capital to Strengthen the Community Welfare Fund: A Case Study of “Kong Boon Satja Sawaddikarn Thai Ban” Puai Sub-District, Lue Amnart District, Amnart Charoen Province. Journal of Humanities and Social Sciences Ubon Ratchathani Rajabhat University, 9(1), 320-332.
Maton, K. L. (2008). Empowering Community Setting: Agents of Individual Development, Community Betterment, and Positive Social Change. American Journal of Community Psychology, 41(1-2), 4-21.
Nuktreepong, N. (2020). Community Welfare for the Community. Journal of Human Society, 10(2), 37-53.
Parinyasutinun, U. (2016). Community Welfare: Balancing between Giving and Taking. Community Development and Quality of Life Journal, 4(3), 327-336.
Planning and Budget Department Strategy and Budget Division of Nam Jo Subdistrict Municipality, Mae Tha District, Lampang Province. (2023). Local Development Plan (2023-2027). Retrieved November 22, 2023, from https://www.namjo-lp.go.th/17965/
Roadkeaw, K. (2007). Development of Learning Processes of Learning Networks Using the Experiential Learning Concept to Strengthen the Communities in the Central Region. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.
Wechayachai, A. (2012). Empowerment in Social Work Practice. Bangkok: Thammasat University Press.