การพัฒนากระบวนการนิเทศการศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรมสำหรับศึกษานิเทศก์ เขตตรวจราชการที่ 2

Main Article Content

อรุณรัชช์ ศาสตร์สกุล
ลำพอง กลมกูล
เกษม แสงนนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการจำเป็นต่อการพัฒนากระบวนการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ เขตตรวจราชการที่ 2 2) เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศการศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรมสำหรับศึกษานิเทศก์ เขตตรวจราชการที่ 2 3) เพื่อประเมินกระบวนการนิเทศการศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรมสำหรับศึกษานิเทศก์ เขตตรวจราชการที่ 2 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ศึกษานิเทศก์ในเขตตรวจราชการที่ 2 จำนวน 101 คน 2) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 12 คน และ 3) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 รูป/คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความต้องการจำเป็น (PNIModified) และการหาค่าดัชนีความตรง
ตามเนื้อเรื่อง


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพที่เป็นจริง สภาพที่ควรจะเป็นต่อการพัฒนากระบวนการนิเทศการศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรมของศึกษานิเทศก์ เขตตรวจราชการที่ 2 พบว่า สภาพที่เป็นจริงที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในระดับมาก ได้แก่ การรายงานผลเพื่อพัฒนา (gif.latex?\bar{x}  = 4.08 , S.D. = 1.03) และค่าเฉลี่ยต่ำสุดในระดับมาก ได้แก่การวางแผน (Planning: P) (gif.latex?\bar{x}  = 3.66 , S.D. = 1.00) สภาพที่ควรจะเป็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในระดับมากที่สุด ได้แก่ การรายงานผลเพื่อพัฒนา (gif.latex?\bar{x} = 4.88 , S.D. = 0.28) และค่าเฉลี่ยต่ำสุดในระดับมากที่สุด ได้แก่ การสร้างความสัมพันธ์ (Empower: E) (gif.latex?\bar{x}  = 4.84 , S.D. = 0.27) และการจัดเรียงลำดับค่าความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการจำเป็น (PNImodified) อยู่ระหว่าง 0.20-0.31 ด้านที่มีความต้องการจำเป็นที่พบว่ามีความสำคัญลำดับที่ 1 คือ การวางแผน (0.31) ลำดับที่ 2 คือ การให้ข้อมูล ความรู้ (0.28) ลำดับที่ 3 คือ การสร้างความสัมพันธ์ (0.27) ตามลำดับ 2. กระบวนการนิเทศการศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรมสำหรับศึกษานิเทศก์ เขตตรวจราชการที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (Planning: P) 2) การสร้างความสัมพันธ์ (Empower: E) 3) การให้ข้อมูล ความรู้ (Information: I) 4) การปฏิบัติ (Action: A) 5) การประเมินผล (Evaluation: E) และ 6) การรายงานผลเพื่อพัฒนา (Report for Development: R) 3. การประเมินกระบวนการนิเทศการศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรมสำหรับศึกษานิเทศก์เขตตรวจราชการที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม มีความถูกต้อง มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

Article Details

How to Cite
ศาสตร์สกุล อ. ., กลมกูล ล. ., & แสงนนท์ เ. . (2024). การพัฒนากระบวนการนิเทศการศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรมสำหรับศึกษานิเทศก์ เขตตรวจราชการที่ 2. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(4), 1517–1528. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/273420
บท
บทความวิจัย

References

Chanphong, J., & Parnichparinchai, T. (2019). Kalayanamitra Characteristics of the Supervisors under the Office of the Basic Education Commission. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal, 23(3), 94-106.

Kraisin, A., Sangkhaosuthirak, S., & Jaroensuk, B. (2021). The Development of Internal Supervision Process of Primary Schools in Thachang District under Suratthani Primary Educational Service Area Office 2. Rajapark Journal, 15(21), 296-309.

Laowreandee, W. (2009). Teaching Supervision. Nakhon Pathom: Silpakorn University Palace Campus.

Majaroen, V. (2020). A Charismatic Leadership Model of Basic Education Administrators in School under the Secondary Educational Service Area 29 for Strengthening Equal Education Administration. (Doctoral Dissertation). Mahamakut Buddhist University. Nakhon Pathom.

Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto). (2005). Dawn of Education Opening the Sky for Sustainable Development. (2nd Ed.). Bangkok: Pimsuay.

Phra Pidhokkosol. (2019). Sevenfold Kalyanamitta-Dhamma Intipittaka for Teachers. Journal of MCU Nakhondhat, 6(9), 4199-4214.

Saengprajan, U. (2016). A Study of Conditions and Guideline for Internal Supervition Performance in School under Province Non-Formal and Informal Education Supperting Office in 5 Khunsuk Group. Journal of Faculty of Education Pibulsongkram Rajabhat University, 3(1), 49-61.

Supervisory Division. (2023). Educational Supervision Problems. Retrieved June 20, 2023, from https://www.esdc.name/esdc2022/pages/aboutus.php

Thavorachot, T. (2021). A Supervision Model of Cooperative Network to Promote the School Effectiveness under the Secondary Educational Service Area. (Doctoral Dissertation). Naresuan University. Phitsanulok.

Thipayasuk, P. (2023). Educational Supervision Problems. Retrieved June 20, 2023, from https://www.gotoknow.org/posts/2004579

Uparang, R. (2023). The Results of the Development of a Supervision Model for Learning to Read English Words Aloud. (Doctoral Dissertation). Rajabhat Maha Sarakham University. Maha Sarakham.