แนวทางในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมด้วยพุทธสันติวิธี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยใช้แนวคิดทฤษฎีการป้องกันอาชญากรรม ปัญหาอาชญากรรมเป็นปัญหาที่สำคัญสังคมไทย โดยเฉพาะในปัจจุบันปัญหาอาชญากรรมออนไลน์นับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และมีผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก จากความเจริญทางเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งปัญหาอาชญากรรมประเภทอื่น เช่น อาชญากรรมเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ยังทวีความรุนแรงอยู่ การป้องกันและแก้ไขอาชญากรรมให้ได้ผลและยั่งยืน จึงควรนำหลักพุทธธรรมซึ่งเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาของพระพุทธองค์มาบูรณาการใช้ร่วมกันกับทฤษฎีการป้องกันอาชญากรรม โดยการนำเอาหลักอริยสัจ 4 มาประยุกต์เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาอาชญากรรม และนำเสนอวิธีการในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมตามแนวทางมรรคมีองค์ 8 มีกระบวนการป้องกันไม่ให้คนในสังคมกระทำความผิด รักษาศีล 5 ให้ครบทุกข้อ รวมถึงการมีหิริโอตตัปปะ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป มีความคิดยับยั้งชั่งใจที่จะกระทำความผิด ส่งผลให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมและยังคงบังคับใช้กฎหมายอาญาในการจับกุมผู้กระทำความผิดคู่กันไป เพื่อสร้างสังคมแห่งสันติภาพให้เกิดขึ้นในครอบครัว ชุมชนและสังคม ตามแนวทางพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Apaphirom, A. (1978). Social Characteristics and Social Problems of Thailand. Bangkok: Odeonstore.
Choobamroong, A. (1989). Causes of Crime as Explained by Buddhist Principles. Kasetsart Journal of Social Sciences, 10(2), 213-221.
______. (1989). Criminology and Crime. Bangkok: Kasetsart University.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.
Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2004). Suffering Because I only See Happiness in Being. Bangkok: Thammasapa Press.
______. (2014). Buddhadhamma (Expanded Edition). (39th ed.). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing.
Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto). (1995). Buddhadhamma (Revised and Expanded Edition). (6th ed.). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing.
Royal Institute. (1982). Dictionary of Royal Institute. (6th ed.). Bangkok: Aksorn Charoenthat A.J.T. Co., Ltd.
Royal Thai Police. (2022). Statistics on 4 Groups of Criminal Offenses in 2022. Retrieved August 3, 2023, from https://data.go.th/dataset/rtp_crimes_stat
Sapyen, N., & Rod Khlong Tan, T. (2008). Police Manual, Prevention and Suppression Course. (6th ed.). Bangkok: Police Printing Bureau.
Somdej Phra Buddhakosajarn (P.A. Payutto). (2019). Buddhadhamma (Expanded Edition). (53rd ed.). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing.
Sukto, A. (2022). Crime Threats from Call Center Gangs: Office of the Secretariat of the House of Representatives. Retrieved November 25, 2023, from https://library.parliament. go.th/th/radioscript/rr2565-jul7
Suthisorn, S. (2011). Criminology. (2nd ed.). Bangkok: Thammasat University.
Thairath Online. (2023). Polls Show that Citizens Have a Responsibility in Police Organizations to Consider Natural Disasters. Retrieved November 25, 2023, from https://www.thairath.co.th/news/politic/2609150
Voathai Online. (2023). Continuous Mass Shootings in 3 States on Independence Day week! a Total of 10 People Died. Retrieved August 3, 2023, from https://www.voathai.com/a/7166484.html
Wasi, P. (1998). Buddhism and Society. Bangkok: MahachulalongKornrajavidyalaya University.
Wongthamma, T. (1998). Comparative Religion. Bangkok: Phranakhon Rajabhat University.