การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ การวิจัยครั้งนี้
เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 รวม 40 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ จำนวน 6 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.91 ค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.48-0.78 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.25-0.55 ค่าความเชื่อมั่น 0.79 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ เรื่องการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบสมมติฐาน t-test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.40 คะแนน และ 25.35 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เนื่องมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผู้วิจัย ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนเข้าใจและเกิดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ 2) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนรู้เรื่อง การอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.44, S.D. = 0.83) เพราะนักเรียนได้ฝึกปฏิบัติโดยการอ่านวิเคราะห์เรื่องราวต่าง ๆ แล้วนำไปสู่การแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล เพื่อหาคำตอบโดยสามารถแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการอ่านบทเรียนรายวิชาอื่น ๆ ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Costouros, T. (2020). Jigsaw Cooperative Learning Versus Traditional Lectures: Impact on Student Grades and Learning Experience. Edmonton: Macewan University.
Department of Curriculum and Instruction Development. (2008). Basic Education Core Curriculum [A.D. 2008]. (3rd ed.). Bangkok: Kuru Sapha Printing House.
Jaroensin, A. (2017). The Development of Critical Reading Ability by Using the Jigsaw Cooperative Learning Technique in Thai Language Learning Strand of Mattatomsuksa 5 Students. (Master’s Thesis). Rajabhat Maha Sarakham University. Mahasarakham.
Koram, S. (2018). Effects of the Skill Practice Exercises Entitled “Thai Usage” by Using Cooperative Learning, Jigsaw Technique for Mattayomsuksa 3 Students. (Master’s Thesis). Buriram Rajabhat University. Buriram.
National Institute of Educational Testing Service. (2022). Ordinary National Education Test (O-NET) Academic Year 2021. Retrieved July 23, 2022, from http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/School/
Ninlaphan, M. (2015). Educational Research Methods. (9th ed.). Nakhon Pathom: Educational Research and Development Center Faculty of Education Silpakorn University.
Office of the Basic Education, (2015). Assessment of Reading Critical Thinking and Writing. Bangkok: Printing and Shipping Organization Phatduphan.
Praratkul, C. (1997). Techniques for Creating Exams. Bangkok: Kuru Sapha Printing House.
Rangapthook, W. (1999). Student-Centered Lesson Plans. (2nd ed.). Bangkok: L.T. Press Company Limited.
Slavin, (1990). Cooperative Learning: Theory, Research and Practice. Massachusetts: A Simon and Schuster.
Srisa-ard, B. (2013). Introduction to Research (9th ed.). Bangkok: Suweerivasarn.
Supab, S. (2019). The Development of Leaning Achievement and Critical Thinking of Eight Grade Students on the Subject of Europe Using 7E Leaning Cycle Combined with Cooperative Leaning Jigsaw II Technique. (Master’s Thesis). Burapha University. Chonburi.
Weesaphen, W. (1992). Teaching Thai Language at the Secondary Level. (2nd ed.). Mahasarakham: Faculty of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University.