รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน

Main Article Content

ไอรฎา นุ่มฤทธิ์
สถิรพร เชาวน์ชัย
จิติมา วรรณศรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน  2. เพื่อสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน และ 3. เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัยฯ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการศึกษาสมรรถนะของครูปฐมวัยฯ โดยสอบถามผู้บริหาร ครู และบุคลากรโรงเรียนเอกชนในระบบ ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 9 จังหวัด จำนวน 364 คน และแบบสัมภาษณ์การศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัยฯ โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารและครูโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี จำนวน 3 โรงเรียน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบฯ โดยการยกร่างรูปแบบฯ และการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบฯ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ ประเด็นสนทนากลุ่มการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบฯ โดยสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบฯ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบฯ โดยผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชน ในเขตภาคเหนือตอนล่าง 9 จังหวัด จำนวน 140 คน


ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 กระบวนการพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การประเมินความต้องการการพัฒนาสมรรถนะ 2) การวางแผนการพัฒนาสมรรถนะ 3) การดำเนินการพัฒนาสมรรถนะ และ 4) การประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะ องค์ประกอบที่ 2 วิธีการพัฒนา ประกอบด้วย 6 วิธี ได้แก่ 1) การฟังบรรยาย 2) การใช้กรณีศึกษา 3) การใช้ปัญหาเป็นฐาน 4) การมอบหมายงาน 5) การเรียนรู้จากการทำงาน และ 6) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และองค์ประกอบที่ 3 สมรรถนะของครูปฐมวัย ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ความรู้ 2) ทักษะ 3) คุณลักษณะ และ 4) ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ การสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนมีความเห็นว่ารูปแบบ มีความเหมาะสม และการประเมิน พบว่า รูปแบบมีความเป็นไปได้และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
นุ่มฤทธิ์ ไ. ., เชาวน์ชัย ส. ., & วรรณศรี จ. . (2024). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(4), 1326–1340. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/272128
บท
บทความวิจัย

References

Bunpitak, S. (2014). Research in the Classroom. Principles of Practice from Experience. Bangkok: Intellectual Printing.

Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A First Course in Factor Analysis. Hillsdale. New Jersey: Erlbaum.

Hanmethee, S., Phithaksinsuk, T., & Aramrit, P., (2018). A Guide to Developing Brain Skills, EF Executive Functions, for Early Childhood Teachers. (1st ed.). Bangkok: Matichon Printing.

Intharaprasert, D., Phuengphosap, N., & Chanprasert, T. (2020). Competency of Master Teachers to Enhance Executive Functions in Preschool Children. Behavioral Science Research Institute: Srinakharinwirot University. Bangkok.

Kongnoh, S. (2015). Early Childhood Education, the Heart of Education. Retrieved May 1, 2021, from http://thachang-nyk.go.th/UserFiles/File/041158/KM...LPA4.4.4(3).pdf

On-ai, W. (2012). Model for Developing Private Schools into Innovative Organizations. (Doctoral Dissertation). Naresuan University. Phitsanulok.

Rangsiyanon, K. et al. (2019). Development of a Model for Enhancing Brain-EF Skills for Early Childhood Children Using a Participatory Process in Network Schools Suan Dusit University. Bangkok: Suan Dusit University.

Rerkkham, S. (2014). Human Resource Development in the New Era, Principles and Applications. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Srisa-at, B. (2017). Preliminary Research. (10th ed.). Bangkok: Suwiriyasat Printing.

Udtha, A. (2019). Model for Developing Competency of Early Childhood Teachers under the Local Government Organization. (Doctoral Dissertation). Naresuan University. Phitsanulok.

Wannasri, J. (2020). Innovation for Educational Institution Development. Phitsanulok: Rattana Suwan Printing 3.

Wongchanhan, K. (2019). Tha Development Model for Cultural Competency of Thai Nursing Students. (Doctoral Dissertation). Naresuan University. Phitsanulok.

Wongkham, T. (2021). Teacher Competency Development Model of the Closed System Teacher Production Project. (Doctoral Dissertation). Naresuan University. Phitsanulok.