กระบวนการพัฒนามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีเยาวชนและครอบครัวโดยพุทธสันติวิธี: ศึกษาเฉพาะกรณีศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ บริบท สภาพปัญหาปัจจุบันของกระบวนการพัฒนาและแนวคิดทฤษฎีในการพัฒนามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีเยาวชและครอบครัวตามแนวทางตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธี กระบวนการพัฒนามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีเยาวชนและครอบครัวโดยพุทธสันติวิธี 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการพัฒนามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีเยาวชนและครอบครัวโดยพุทธสันติวิธี ในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และได้พัฒนาเครื่องมือวิจัยตามแบบอริยสัจโมเดล โดยเดินตามบันได 9 ขั้น ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้พิพากษาสมทบ จำนวน 13 ท่าน และสนทนากลุ่มเฉพาะ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านสันติวิธี นักจิตวิทยา ผู้พิพากษาที่เกี่ยวข้องกับคดีเด็กและเยาวชน ผู้อำนวยการสถานพินิจ ศูนย์ฝึกและการฝึกอบรม จำนวน 8 ท่าน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพของปัญหาในการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีเยาวชนและครอบครัวยังมีปัญหาที่ควรปรับปรุง โดยเฉพาะมาตรา 90 ที่ต้องการความยินยอมจากผู้เสียหายและการสำนึกผิดของเยาวชน ซึ่งในทางปฏิบัติผู้เสียหายมักไม่ได้มีส่วนร่วมในการเจรจา และกระบวนการบำบัดฟื้นฟูใช้เวลาไม่นานพอที่จะได้ผลจริง 2) หลักพุทธสันติวิธีถูกนำมาใช้ในการพัฒนาเยาวชนผ่านภาวนา 4 ด้าน ได้แก่ กายภาวนา (พัฒนาทางกายและอาชีพ), ศีลภาวนา (ฝึกวินัยและคุณธรรม), จิตภาวนา (ควบคุมอารมณ์), และปัญญาภาวนา (แก้ปัญหาด้วยปัญญา) เพื่อให้เยาวชนรู้จักการอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีคุณธรรม 3) กระบวนการพัฒนามาตรการพิเศษตามหลักพุทธสันติวิธีของศาลเยาวชนและครอบครัว เน้นการป้องกันการกระทำผิดซ้ำ และดูแลผู้เสียหายให้มีส่วนร่วมอย่างรวดเร็ว โดยผู้พิพากษาสมทบจะเข้ามาช่วยประสานงาน เพื่อให้การบำบัดฟื้นฟูมีประสิทธิภาพและส่งเสริมอาชีพหลังสิ้นสุดคดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
His Majesty King Bhumibol Adulyadej the Great. (1952). Summary of the Royal Speech of King Rama IX on Education. Retrieved May 21, 2023, from https://km.rdpb.go.th/Knowledge/View/187
Juvenile and Family Court and Procedure Act B.E. 2553. (2010). Royal Gazette. Volume 127 Part 72a (22 November 2010).
Matchimaphiro, D. (2013). The Public Mind Development of Thai Youths. Graduate Studies Journal, 10(46), 13-23.
Phrakhrupalad Thanapat Uttamapunyo, Suwannawong, B., & Phramaha Suporn Rakkhitadhammo. (2022). The Conceptual Model of Development of the Voluntary Works of the Youth of the Intergration Buddhist School in Nakhon Ratchasima Province. Journal of Buddhist Studies, 13(2), 44-60.
Phrakhrurattanakornvisut et al. (2022). Development the Basic Ethical in Youth Principles Pray 4. Journal of Mani Chettha Ram Wat Chommani, 5(1), 98-109.
Phramaha Phanuwat Patibhanamethee, Chaiwong, S., & Phraatikarn Suchat Chantasaro. (2017). Thai Teenagers’s Public Minds in their Z Generation Enhancing Buddhism-Based Public Mines. Nakhon Lampang Buddhist College’s Journal, 6(2), 40-50.
United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC). (2020). Manual on the Restorative Justice Process. (2nd ed.). Bangkok: Thailand Institute of Justice.