รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

Main Article Content

กาญจนา ฮวดศรี
สถิรพร เชาวน์ชัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เป็นการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาความต้องการและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 2) การสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบโดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 3) การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ จำนวน 77 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแปลผลเทียบเกณฑ์


ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูศูนย์การศึกษาพิเศษ พบว่าผู้บริหารและครูมีความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านการคัดกรองและประเมินความสามารถเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ การวางแผนการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล รวมทั้งการจัดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ผู้อำนวยการและครูศูนย์การศึกษาพิเศษที่มีแนวปฏิบัติที่ดีมีความคิดเห็นสอดคล้องกับผู้ทรงคุณวุฒิ เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ควรประกอบด้วยหลักการ วัตถุประสงค์ ปัจจัยสนับสนุน กระบวนการและวิธีการพัฒนาสมรรถนะครู 2) ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ปัจจัยสนับสนุน กระบวนการพัฒนาสมรรถนะครู วิธีการพัฒนาสมรรถนะครูและสมรรถนะครู       ศูนย์การศึกษาพิเศษ 3) ผลการประเมินประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ พบว่า ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.72, S.D. = 0.68), (gif.latex?\bar{x} = 4.71, S.D. = 0.72) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Aiumpaya, K. (2018). Teacher Professional Development. Nonthaburi: 21 Century Co., Ltd.

Arkansas Department of Education. (2015). Arkansas Teaching Standards. Little Rock: Arkansas Department of Education.

Asawapoom, S. (2007). Using Research to Develop Patterns in Doctoral Thesis. Journal of Ubon Ratchathani Rajabhat University, 2(2), 83-84.

Chunaka, L. (2016). The Development Model to Competency for Academic Administration of School Administrators in Primary Service Area Office. (Doctoral Dissertation). Naresuan University. Phitsanulok.

Desimone, R. L., Werner, J. M., & Harris, D. M. (2002). Human Resource Development. (3rd ed). Ohio: Thomson and South-Weston.

Eisner, E. W. (1994). Cognition Curriculum Reconsidered. New York: McGraw Hill Book.

Jansila, V. (2018). Administration of Educational Institutions in Remote Areas. (1st ed.). Bangkok: Rattanasuwan Print 3.

Jetchamnongnuch, W. et al. (2011). Professional Standards for Special Education Teachers. Bangkok: The Teacher Council of Thailand.

Jetchamnongnuch, W., Visessuvanapoom, P., Tantixalerm, Ch., & Tinmala, D. (2017). Professional Standards for Special Education Teacher. Journal of Research Methodology, 30(2), 161-186.

Khunthongchan, S. (2016). Integrated Human Resource Management. (1st ed.). Bangkok: SE-Education.

Nitchanet, C. (2017). Model Development Research in Social Sciences and Education. Academic articles Suratthani Rajabhat Journal, 4(2), 71-102.

Rathanit, S. (2017). Principles and Theory Education Administration. (4th ed.). Bangkok: S. Asia Press (1989) Co., Ltd.

Rodut, S. (2020). The Developing Speaking Skills for Children with Mental Retardation Using Picture Books. Phitsanulok: Regional Special Education Center 7 Phitsanulok.

Siripala, W. (2016). The Rajabhat Model of Teachers' Professional Development. (Doctoral Dissertation). Siam University. Bangkok.

Special Education Bureau. (2015). Report on the Results of the Education System for Education that Has Needs in Thailand. Bangkok: Office of the Basic Education Commission.

Special Education Bureau. (2017). Educational Management Plan for Persons with Disabilities No.3 (A.D. 2017 – 2021). Bangkok: Office of the Basic Education Commission.

Special Education Bureau. (2021). Policy and Planning Group. Bangkok: Office of the Basic Education Commission.