การประเมินผลโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ระดับตำบล : กรณีศึกษาโครงการตำบลละ 5 ล้านบาท จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ไกรเลิศ ตั้งกิจบำรุง
อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลการดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ระดับตำบล 2) จัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนารูปแบบการดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ในอนาคเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารและพนักงานส่วนท้องถิ่น ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากพื้นที่ที่มีผลการเบิกจ่ายในระดับสูง ได้แก่ อำเภอตระการพืชผล อำเภอเขื่องใน และอำเภอวารินชำราบ รวม 413 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงาน จำนวน 10 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือที่ในการเก็บข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอเชิงพรรณา


ผลการวิจัยพบว่า 1) (1) บริบท C (Context) พบว่า ระดับรายได้ มีอัตราส่วนที่ลดลง ระดับการบริโภคภาคครัวเรือน และระดับการจ้างงานนั้น มีอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น (2) ปัจจัยนำเข้า I (Input) พบว่า สัดส่วนงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรโครงการประเภทที่ 1 คือ โครงการซ่อมแซมหรือบูรณะทรัพย์สินที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะใช้งบประมาณ 971,147,830 บาท คิดเป็น 87.56% ของงบประมาณทั้งหมด (3) กระบวนการ P (Process) พบว่า มีลำดับขั้นตอนในการดำเนินการอย่างชัดเจน กระบวนการครบถ้วนสมบูรณ์ มีการสร้างการมีส่วนร่วมในพื้นที่ มีกลไกในการกำกับดูแลและตรวจสอบทุกขั้นตอนการดำเนินงาน (4) ผลผลิต P (Product) พบว่า โครงการสามารถสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ทั้งในทางตรงและทางอ้อม การสร้างการบริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) พบว่า หากมีโครงการตำบลละ 5 ล้านบาทในอนาคต ควรผันงบประมาณไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเนื่องจากมีความพร้อมด้านบุคลากรบุคลากร โดยเฉพาะช่างโยธา เพราะโครงการโดยส่วนใหญ่เป็นโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภค  ขั้นพื้นฐาน ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีช่างในการออกแบบ ปร.4, ปร.5 ดูแลได้อย่างครอบคลุมและอีกทางหนึ่งลงงบประมาณจะลงสู่ประชาชนโดยตรง

Article Details

How to Cite
ตั้งกิจบำรุง ไ. ., & วงศ์ปรีดี อ. . (2024). การประเมินผลโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ระดับตำบล : กรณีศึกษาโครงการตำบลละ 5 ล้านบาท จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(5), 1780–1794. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/271292
บท
บทความวิจัย

References

Akakul, T. (2000). Research Methodology in Behavioral Sciences and Social Sciences. Ubon Ratchathani: Faculty of Education, Ubon Ratchathani Rajabhat Institute.

Chechad News. (2017, March 27). MOI’s Spokesman Clarifies that 5 Million Baht per Sub-District Complies with the State-People Collaboration Strategy as It Is Based on Local People’s Needs, and Survey Results Support their Satisfaction. Chechad Newspaper. Retrieved March 10, 2023, from https://chechadnews.blogspot.com/2017/03/5_27.html?m=0

Department of Provincial Administration, Ministry of Interior. (2016). Lessons Learned from Management according to Livelihood Promotion Measures of the People, 5 Million Baht per Sub-District. Bangkok: The Technical Services and Planning Division, Department of Provincial Administration, Ministry of Interior.

Department of Provincial Administration, Ministry of Interior. (2021). The Implementation of the Well-Being Promotion Measures at the Sub-District Level. Retrieved March 10, 2023, from http://164.115.41.23/web/main.php

Office of the Permanent Secretary for Interior. (2017). The Lessons Learned from the Implementation of the Well-Being Promotion Measures at the Sub-District Level. Bangkok: Office of the Permanent Secretary for Interior.

Sinjaru, T. (2010). Research and Statistical Data Analysis by SPSS Covering Version.

(11th ed.). Bangkok: Business R&D.

Sukhothai Thammathirat Open University. (2023). Keynesian Economics. Retrieved February 25, 2023, from https://www.stou.ac.th/Schools/Sec/Services/e-Learning2/02-01.html

TCIJ Team. (2017, March 26). The 5 Million per Sub-District Program Used up 38 Billion Baht, Another Problem Caused by Populism. TCIJ. Retrieved from February 25, 2023, https://www.tcijthai.com/news/2017/3/scoop/6862