การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในวัดเพื่อตอบโจทย์ความต้องของชุมชนเมือง โดยใช้พลังบวรเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบริบท สภาพปัญหา ของวัดใหม่ (ยายแป้น) ด้านการบริหารจัดการ สิ่งแวดล้อมตามความต้องการจำเป็นของชุมชนเมือง และแนวคิดทฤษฎี การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักวิทยาการสมัยใหม่ 2. เพื่อศึกษาหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ในวัดตามความต้องการจำเป็นของชุมชนเมืองโดยใช้พลังบวรเป็นฐาน 3. เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในวัดตามความต้องการจำเป็นของชุมชนเมืองโดยใช้พลังบวรเป็นฐาน ผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูป/คน คือ 1) กลุ่มในพื้นที่ จำนวน 8 รูป/คน 2) หน่วยงานภาครัฐ จำนวน 2 ท่าน 3) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จำนวน 3 รูป/คน 4) ผู้ให้ข้อมูลวัดต้นแบบด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในวัด จำนวน 6 ท่าน
ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพทั่วไปของวัดใหม่ (ยายแป้น) สภาพแวดล้อมภายในวัดไม่เอื้อต่อการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา มีปัญหาด้านทิ้งขยะ แสงสว่างไม่เพียงพอ การจราจร ที่จอดรถไม่เป็นระเบียบ ห้องสุขาเสื่อมโทรม พื้นที่สีเขียวมีน้อย 2. แนวคิดทฤษฎีและหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมวัดตามหลักการสมัยใหม่ คือ 1) หลักการบริหารจัดการของเดมมิงส์ คือ วางแผน ปฏิบัติ ติดตามผลและดำเนินการ 2) หลักการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม 3) หลักสัปปายะ 4 คือ อาวาสสัปปายะ อาหารสัปปายะ ธัมมะสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ 3. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในวัดโดยใช้พลังบวรเป็นฐาน ดำเนินกิจกรรม Big Cleaning ซ่อมแซมห้องน้ำ ทาสีกุฏิ จัดทำแผนผังวัด ทำเครื่องหมายช่องทางเดินรถและช่องจอดรถ ปลูกต้นไม้ จัดแสงสว่างไฟโซล่าเซลล์ และติดตั้งกล้องวงจรปิด ซึ่งชุมชนรอบวัดและพระเณร ในวัดใหม่ (ยายแป้น) ร่วมมือกันในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในวัด ทำให้เกิดความมั่นคงยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Banjood-com. (2022). House and Temple. Retrieved August 15, 2022, from https://sites.google.com/site/thong33333/บ้านกับวัด
Department of Health. (2019). Handbook for Environmental Health Management in Temples. Bangkok: Sam Charoen Panich Printing Co., Ltd.
Environment and Pollution Control Office 13 (Chonburi). (2022). Environment. Retrieved August 15, 2022, from http://www.mnre.go.th/reo13/th/news/detail/9570
Kalapukdee, P. (2021). Guideline for Sustainable Management of Community Forest Resources in Eastern Region. Law and Local Society Journal, 5(1), 1-27.
Kukkong, P. (2022). Energy and Environment. Retrieved August 15, 2022, from https://sites.google.com/site/energyandenvironment00/
Ministry of Natural Resources and Environment. (2022). Guidelines for Managing the Community Environment to Promote and Preserve the Quality of the Environment 2020-2037. Retrieved August 15, 2022, from https://www.ryt9.Com/s/cabt/3190748
Pathan, P. (2022). Strategies for Environmental Management of Temples in Contemporary Thai Society. Academic Journal of Community Public Health, 8(3), 143-154.
Phra Boontham Chumyen. (2018). Model of Development for Participatory Solid Wastes Management of Temples Learning Centers, Pathum Thani Province. Journal of MCU Peace Studies, 6(1), 333-343.
Phrakhruophaskitchanuyut (Paphassaro). (2019). Strategies for Environmental Management of Temples in Contemporary Thai Society. Journal of Education MCU, 3(1), 143-154.
Phrakrupaladpannavorawat, & Krongkum, S. (2022). Open the Door to Bangkoknoy Yinyon Watmai (YaiPan). Bangkok: Limited Partnership Prayoon Santhai Printing.
Songsunthornwong, C. (2005). Human and the Environment. (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Weerawattananon, W., & Sirilai, S. (2003). Environmental Studies According to Buddhist Principles. Bangkok: O.S. Printing House.
Yaot, S. (2019). The Development of the Temple to Be a Sappaya. Journal of Education MCU, 6(2), 200-208.