บทบัญญัติและกฎหมายเกี่ยวกับสถานที่พักสงฆ์สำหรับพระภิกษุที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาที่เอื้อต่อวิถีพระธรรมวินัย

Main Article Content

พงษ์ธร ธัญญสิริ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบต่อพระภิกษุอันเกิดจากการดำเนินคดีกับพระภิกษุเมื่อถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในคดีอาญา 2) ศึกษากระบวนการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับสถานที่พักสงฆ์สำหรับพระภิกษุผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในคดีอาญาตามหลักกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและพุทธสันติวิธี 3) เสนอบทบัญญัติและกฎหมายเกี่ยวกับสถานที่พักสงฆ์สำหรับพระภิกษุ  ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในคดีอาญาที่สอดคล้องกับหลักกฎหมายและวิถีของพระธรรมวินัย โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะเชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนา ด้านพุทธสันติวิธี ด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการยุติธรรม


ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาและผลกระทบต่อพระภิกษุอันเกิดจากการดำเนินคดีกับพระภิกษุ เมื่อถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในคดีอาญา และไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวตาม มาตรา 29 ของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แต่ในความเป็นจริงยังอยู่ในชั้นของการกล่าวหาต่อพระภิกษุ เพราะยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีการกระทําผิดจริงหรือไม่ ซึ่งเป็นไปตามหลักบทสันนิษฐานความบริสุทธิ์ของจำเลยในคดีอาญา 2) เมื่อบูรณาการหลักพุทธสันติวิธีกับหลักกฎหมายเกี่ยวกับสถานที่พักสงฆ์สำหรับพระภิกษุผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในคดีอาญาตามหลักกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ทำให้ได้หลักการ “MCU Model” ที่มีองค์ประกอบย่อย 3 ประการ คือ (1) Moral (M) หรือพระวินัย (2) Culture of Lawfulness (C) หรือ มาตรการควบคุมทางสังคม และ (3) Universal (U) หรือ มาตรฐานสากล จึงเห็นควรมีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติและกฎหมายที่ให้มีสถานที่ควบคุมเป็นการเฉพาะสำหรับพระภิกษุที่สอดคล้องกับวิถีพระธรรมวินัย อันเป็นกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ของพระภิกษุ เพื่อเป็นการคุ้มครองและธำรงพระพุทธศาสนาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bunnakornkul, W. (2018). Disrobing of a Bhikkhu: A Balance of Buddhist Sangha Community. Mahajula Academic, 5(2), 28-38.

Chitpien, S. (2000). The Process of the Thai Sangha’s Justice: A Case Study of Problems in the Court Organization and Procedure of the Adhikaranas accrding to the Sangha’s Law B.E. 2505. (Master’s Thesis). Ramkhamhaeng University. Bangkok.

Nukum, T. (1998). Problems in Criminal Action Against Thai Monks. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.

Nuphangtha, A. (2009). The Proceedings of the Discipline Offending Monk: A Case Study of the Sangha Act B.E. 2005. (Master’s Thesis). Naresuan University. Phitsanulok.

Petchsiri, A. (1986). Human Right and Criminal Justice Process in Thailand. Bangkok: Charoenwit Printing.

Phrakhru Phisitbunyakorn (Thrapthawi Dhammatejo). (2022). Methodes of Detaining Monks Accused of Criminal Offenses which Must be Detained under the Criminal Procedure Code. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phramaha Hunsa Dhammahaso (Nithibunyakorn). (2005). A Pattern of Conflict Management by Buddhist Peaceful Means: A Critical Study of Mae Ta Chang Watershed Chiang Mai. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Praithong, P. (2017). Criminal Liability Presumption for Corporate Representative. (Doctoral Dissertation). National Institute of Development Administration. Bangkok.

Sittikorn, S. (2019). The Desirable Process for Prosecuting Monks in the Present Thai Society. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.