รูปแบบการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ลาว เขมร ส่วย ในท้องถิ่นอีสานใต้

Main Article Content

อภินันท์ สุขบท
นิศานาจ โสภาพล
กุลชญา ลอยหา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาสถานการณ์และบริบทการใช้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในการดูแลสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ ลาว เขมร ส่วย ในท้องถิ่นอีสานใต้ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ลาว เขมร ส่วย ในท้องถิ่นอีสานใต้ 3) เพื่อประเมินรูปแบบ  การดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในการดูแลสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ ลาว เขมร ส่วย ในท้องถิ่นอีสานใต้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างคือหมอพื้นบ้านที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จํานวน 576 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ การสนทนากลุ่ม จำนวน 16 คนและทดลองใช้รูปแบบ จํานวน 40 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์เนื้อหาและการอธิบายเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ชาวบ้านยังมีความเชื่อและยอมรับภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านโดยหมอพื้นบ้านมีการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม 2) รูปแบบการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม คือ หมอพื้นบ้าน    ต้องปรับบทบาท รูปแบบและวิธีการรักษา โดยมีหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดนโยบายและจัดให้บริการในชุมชน จัดหายาสมุนไพรที่มีคุณภาพเพียงพอ มีระบบการจัดการความรู้และภูมิปัญญา มีการเรียนรู้ของหมอพื้นบ้านและส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มหมอพื้นบ้าน สามารถนำรูปแบบไปใช้ได้จริง โดยมีเงื่อนไขแห่งความสำเร็จคือ มีงบประมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ มีการส่งเสริมให้ผู้ที่มีความรู้ทำงานบริการสุขภาพแก่ประชาชนในท้องถิ่นอย่างจริงจัง พัฒนาแนวทางโดยการบูรณาการภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 3) ผลการประเมินรูปแบบพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อเสนอการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์คือ ส่งเสริมการนำภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอย่างเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chamarat, O. (2002). The Wisdom of Local Healers and the Use of Herbal Medicine to Treat Illness: A Case Study of Mr. Waew Wongkhamsom, Ban Khon Phong, San Tom Sub-District, Phu Ruea District, Loei Province. Loei: Loei Rajabhat University.

Chuengsatiansup, K. (2002). Primary Health Care Primary Care and Community Health: Lesson Learned Challenge and New Context of Public Sector Health. Proceeding of community Health and Primary Care Expo 2009 February 18-20. Nonthaburi. Thailand.

Ekakul, T. (2000). Research Methods in Behavioral Science and Social Sciences. (1st Edition). Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Rajabhat Institute.

Judprakob, C., Saeou, A., & Srichan, S. (2021). Folk Medicine Practitioners: Belief in Herbal Medicinal Treatment in Baan Song Community, Talad Sub-District, Muang District, Mahasarakham Province. Suthiparithat Journal, 35(2), 197-210.

Jumprabut, B. (2011). Methods for Transmitting the Wisdom of Traditional Thai Isan and Lao Medicine. (Doctoral Dissertation). Surin Rajabhat University. Surin.

Kaewchin, P. (2015). A Study of Folk Medicine Wisdom in Wang Nam Khiao District, Nakhon Ratchasima. National Academic Conference and Research Presentation “Create and Develop to Advance towards the ASEAN Community”. (pp. 135-143). Nakhon Ratchasima: Nakhon Ratchasima College.

Kailas, T. (2006). Cultural Dimensions of the Traditional Health Care of Ethnic Groups in Isan Region. (Master’s Thesis). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Muenhor, M., & Manglakeeree, N. (2018). Identity and Existence Kalueng Tribe Folk Medicine in Nakhon Phanom Province. Community Health Development Quarterly Khon Kaen University, 6(3), 387-409.

Na Thalang, E. (1997). Folk Wisdom of the Four Regions: Ways of Life and Learning Process of Thai Villagers, Kittimatee Project Field of Study: Education Sukhothai Thammathirat Open University. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.

Samsungnoen, P., & Phuchinda, W. (2013). Handbook for the Regulations of the Department of Thai Traditional Medicine Development and Alternative Medicine. (1st Printing). Bangkok: Agricultural Cooperatives Association of Thailand.

Santawaja, C. (2010). Basic Concept Nursing Theory and Process. (6th Edition). Nonthaburi: Project Academic Welfare Praboromarajchanok Institute.

Sarakul, T. (1995). Wisdom Research Paper on Self-Care in Six Hill Tribe Communities. Nakhon Sawan: Center Training and Development of Primary Health Care in the Northern Region Nakhon Sawan Province.

Wisawatapnimit, P., & Tuner, K. (2017). Holistic and Humanized Health Care: A Case Study of HIV/AIDS Patients at Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute. Journal of Health Systems Research, 11(3), 401-413.

Yoadsomsuay, P., & Wongtongtair, S. (2009). A Study of Wisdom of Folk Doctor in Ampur Ounkharuk, Nakhornnayok Province. (Research Report). Faculty of Health Science, Srinakharinwirot University. Bangkok.