ความเชื่อ เรื่องเล่า ประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวชายแดนไทย-ลาว ในจังหวัดอุบลราชธานี: การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยว

Main Article Content

ปานรดา วรรณประภา
สุนทร วรหาร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รวบรวมข้อมูลความเชื่อ เรื่องเล่า ประวัติศาสตร์ อันเป็นทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่วิจัย 2) เผยแพร่ทุนทางวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ ให้เป็นแนวทาง         ในการพัฒนาศักยภาพชุมชนและเป็นการเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยว เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยการคัดเลือกแบบเจาะจงจากปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ชาวบ้านที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จำนวนรวมทั้งหมด 92 คน ในพื้นที่ 6 อำเภอ คือ เขมราฐ นาตาล โพธิ์ไทร ศรีเมืองใหม่ โขงเจียม สิรินธร ทำการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทและนำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์


ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเชื่อ เรื่องเล่า ประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งผู้วิจัยได้จำแนกนำเสนอตามลักษณะของแหล่งท่องเที่ยวเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. แหล่งท่องเที่ยวภูมิธรรม ปรากฏเรื่องเล่าและความเชื่อ 4 ลักษณะ คือ เกี่ยวกับพระอริยสงฆ์ พระพุทธรูปสำคัญ พญานาค บุคคลสำคัญ ส่วนประวัติศาสตร์ ปรากฏ 1 ลักษณะ คือ เกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี 2. แหล่งท่องเที่ยวภูมิลักษณ์ ปรากฏ   เรื่องเล่า 2 ลักษณะ คือ เรื่องเล่าอธิบายรูปลักษณ์ของสถานที่ และเรื่องเล่าที่อธิบายเกี่ยวโยงกับแหล่งท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียงความเชื่อ จำนวน 1 ลักษณะ คือ ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิที่ปกปักรักษาพื้นที่ประวัติศาสตร์ พบจำนวน 1 ลักษณะ คือ ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับหลักฐานร่องรอยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่ 3. แหล่งท่องเที่ยวภูมิปัญญา ปรากฏ 2 ลักษณะ คือ เรื่องเล่าที่สอดแทรกความเชื่อบอกที่มาของภูมิปัญญา และประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับภูมิปัญญา


2) การเผยแพร่ทุนทางวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ ให้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพชุมชนและเป็นการเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยว จากการศึกษาแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 3 ลักษณะนั้นมีทุนทางวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์ที่สามารถนำมาส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ ประกอบด้วย พระพุทธรูปเก่าแก่ที่สำคัญ พระอริยสงฆ์ แหล่งโบราณคดีและแหล่งประวัติศาสตร์ ศิลปะวัตถุ แหล่งหัตถกรรมผ้าทอมือและอาหาร แหล่งธรรมชาติ แหล่งความเชื่อความศรัทธาเกี่ยวกับพญานาค ซึ่งทุนทางวัฒนธรรมเหล่านี้ไม่ได้มีการรวบรวมข้อมูลไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและส่งเสริมให้เป็นสิ่งล้ำค่า ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้รวบรวมและนำมาสร้างเป็นองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. จัดทำหนังสือเกี่ยวกับความเชื่อ เรื่องเล่า ประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวชายแดนไทย-ลาว ในจังหวัดอุบลราชธานี เผยแพร่ในโรงเรียนซึ่งอยู่ในพื้นที่ทั้ง 6 อำเภอ จำนวน 10 โรงเรียน เพื่อใช้สอนในหลักสูตรท้องถิ่น จากการสัมภาษณ์ครูและเยาวชนที่ได้อ่านข้อมูลจากหนังสือ พบว่า เยาวชนมีความรู้และรับรู้เรื่องราวของแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นสามารถเล่าเรื่องสถานที่ที่ได้จากการอ่านหนังสือและมีการสืบค้นข้อมูลเพื่อศึกษาเพิ่มเติม เยาวชนบางกลุ่มนำข้อมูลไปใช้ในการแนะนำนักท่องเที่ยว 2. เผยแพร่รูปแบบออนไลน์ผ่านช่องยูทูปชื่อ อาสา_พาเที่ยว ซึ่งมีผู้ติดตามเพิ่มขึ้นตามลำดับการเผยแพร่ข้อมูลความเชื่อ เรื่องเล่า ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าว จึงเป็นการนำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างคุณค่าเพื่อทำให้เป็นที่รู้จักและเกิดศักยภาพในการท่องเที่ยว อีกทั้งข้อมูลจากการวิจัยสามารถนำไปเป็นแนวทางในการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวเชิงพุทธ และการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สุนทร วรหาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ผู้มีส่วนสำคัญทางปัญญา

References

Harasarn, A., Namwong, P., & Sopha, J. (2023). The Potential Development Guidelines for the MICE Tourism Industry in Ubon Ratchathani Province. Journal of MCU Peace Studies, 11(1), 280-291.

National Economic and Social Development Board. (2022). The 13th National Economic and Social Development Plan Years 2023-2027. Bangkok: Office of the Economic Development and Economic Development Board, National Society Office of the Prime Minister.

Phueakbuakhaol, S., & Buripatdee, C. (2018). Guidelines for Development of Cultural Tourism Attractions in Cha-Am District in Phetchaburi Province. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 1672-1684.

Srihiran, J. et al. (2021). Spiritual Tourism: Following the Footsteps of Local Literatures and the Serpent Rocket Festival, Ratanawapi District, Nongkhai Province. Journal of Graduate Studies Review, 17(2), 1-18.

Srithon, A., & Tularak, U. (2021). Cultural Capital in the Dimension of Community Tourism Described through Stories, Legends, Local History and Community Way of Life. Liberal Arts Review, 16(2), 141-158.

Swadsaen, S., & Nakpathom, P. (2022). The Guidelines for Sustainable Tourism Development in Nakorn Nayok Province after COVID-19 Situation. Journal of Sustainable Tourism Development, 4(2), 38-55.

Swadsaen, S., & Nakpathom, P. (2022). The Guidelines for Sustainable Tourism Development in Nakorn Nayok Province after COVID-19 Situation. Journal of Sustainable Tourism Development, 4(2), 38-55.

Thanachokphisit, K., & Akkasaeng, A. (2022). Cultural Tourism Management of Khemarat District, Ubon Ratchathani Province. Journal of MCU Nakhondhat, 8(6), 177-191.

Wanglomklang, B. (2019). Tourism Routes Following the Traces of Hundreds of Stories of Isan Folk Literature in the Cities of Yasothorn. (Master’s Thesis). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Yingkhong, K., & Khaodee, S. (2022). Identity of Border Tourism Community and Creating Added Value. Wiwith Wannasarn Journal, 6(1), 177-208.