การพัฒนารูปแบบและกลไกการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดี ของกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพไปใช้ในการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาทั้งระบบของสถานศึกษาในบริบทกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ทยาตา รัตนภิญโญวานิช
มนตรี แย้มกสิกร
วรรณภร ศิริพละ
กุลกาญจน์ สุวรรณรักษ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์วิจัยเพื่อ 1) ศึกษาบริบท ปัญหาและความต้องการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา 2) พัฒนารูปแบบและกลไกการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีด้านการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา 3) ประยุกต์ใช้รูปแบบและกลไกการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีด้านการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูและผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดกรุงเทพมหานคร 2 แห่ง และสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ 2 แห่ง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินเพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดี แบบประเมินรูปแบบการพัฒนา แบบประเมินสมรรถนะของผู้เรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา แบบสะท้อนผลการนำแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบริบท ปัญหาและความต้องการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาทั้งสถานศึกษา คือ ปัญหาด้านการอ่าน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเรียนในวิชาต่าง ๆ และการเรียนในระดับที่สูงขึ้น และเมื่อพิจารณาคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) คะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีระดับต่ำกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม เมื่อเทียบกับระดับประเทศ 2. ผลการพัฒนารูปแบบและกลไกการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีฯ ผู้วิจัยได้นำผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานมาพัฒนารูปแบบและกลไกการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีฯ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์การใช้รูปแบบ 3) กระบวนการของรูปแบบฯ 8 กระบวนการ คือ แต่งตั้งคณะกรรมการ ประชุมคณะกรรมการ สร้างข้อตกลง การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาทั้งระบบด้วยวงจร PLC โดยกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย AKASAH PROCESS การนิเทศติดตาม การประเมินผล และกำหนดประเด็นท้าทายใหม่ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 4) การประเมินผล และ 5) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ 3. ผลการประยุกต์ใช้รูปแบบและกลไกการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีฯ พบว่า หลังการดำเนินงาน ทั้งโรงเรียนวัดคอลาด และโรงเรียนธรรมศรีสุวรรณดิษฐ์ มีพัฒนาการที่สูงขึ้น ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาภาษาไทยสูงกว่าระดับประเทศ และผู้เรียนโรงเรียนธรรมศรีสุวรรณดิษฐ์ มีคะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาไทยสูงกว่า โรงเรียนวัดคอลาด ผลที่ได้สอดคล้องกับผลการทดลองในสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร เมื่อพิจารณาโดยรวมสามารถสรุปได้ว่ารูปแบบและกลไกฯที่พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิผลสามารถนําไปใช้พัฒนาสมรรถนะครูและสมรรถนะผู้เรียนได้ทั้งสถานศึกษาขนาดเล็กในสังกัดกรุงเทพมหานครและสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

Article Details

How to Cite
รัตนภิญโญวานิช ท. ., แย้มกสิกร ม. ., ศิริพละ ว. ., & สุวรรณรักษ์ ก. . (2024). การพัฒนารูปแบบและกลไกการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดี ของกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพไปใช้ในการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาทั้งระบบของสถานศึกษาในบริบทกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(4), 1462–1476. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/270558
บท
บทความวิจัย

References

Education Improvement Commission. (2000). School Improvement Planning a Handbook for Principals, Teachers, and School Councils. Toronto, Canada: Education Improvement Commission.

Mitchell, C., & Sackney, L. (2000). Profound Improvement: Building Capacity for a Learning Community. Lisse, the Netherland: Swets & Zeitlinger.

Moore, R. A., Helms, M., & Usselman, M. (2018). Effective Design-Based Implementation Research Using Complex Systems Modeling (Fundamental). Paper Presented at 2018 ASEE Annual Conference & Exposition, Salt Lake City, Utah.

Office of the Education Council. (2018). Council National Educational Standards B.E.2561. (2018). Retrieved May 1, 2022, from http://www.onec.go.th/index.php/book/BookView/10

Office of the Education. (2018). Report on the Results of a Study on the Implementation of National Educational Standards: Lessons from Abroad. Bangkok: 21st Century Printing.

Office of the National Education Commission. (1999). National Education Act of B.E. 2542 (1999). Bangkok: Seven Printing Group.

Phengsawat, W. (2013). Model Development Research. Rajabhat Sakon Nakhon University Journal, 2(4), 2-15.

Sakaew, P. (2017). Problem and Solving Guidelines for Academic Administration of Small School under Secondary Educational Service Ara Office 32. The National and International Graduate Research Conference 2017 at Pote Sarasin Building, Khon Kaen University. Retrieved February 12, 2022, from https://gsbooks.gs.kku.ac.th/60/nigrc2017/pdf/HMP8.pdf

Ubaidullah, A. M., & Islami, J. M. (2016, June). Design Based Implementation Research (DBIR) for Sustaining Innovation in Classroom Instruction. Retrieved May 6, 2022, from https://www.researchgate.net/publication/322200259_DESIGN_BASED_IMPLEMENTATION_RESEARCH_DBIR_FOR_SUSTAINING_INNOVATION_IN_CLASSROOM_INSTRUCTION

Willer, D. (1986). Scientific Sociology: Theory and Method. Englewood Cliff, NJ: Prentice-Hall.