แนวทางการพัฒนาสันติสุขภาวะผู้สูงวัยโดยพุทธสันติวิธี เพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงวัยอย่างยั่งยืน

Main Article Content

กันยารัตน์ คอนกรีต

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาสันติสุขภาวะผู้สูงวัยโดยพุทธสันติวิธี ซึ่งในปัจจุบันสังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงวัยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การเตรียมความพร้อมในการใช้ชีวิตช่วงบั้นปลายของผู้สูงวัย มีความจำเป็นต้องนำความรู้ หลักวิชาการมาดูแลสุขภาพที่ดี ในการขับเคลื่อนในการพัฒนาสันติสุขภาวะผู้สูงวัยโดยพุทธสันติวิธี และการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ควรมีทักษะการจัดการความรู้เพื่อดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยอย่างยั่งยืนในชุมชน รวมถึงมีการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้สูงวัย ทำให้สามารถอยู่อย่างมีคุณค่า ไม่ท้อถอย มีความสุขในชีวิตและเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ด้วยการประยุกต์หลักไตรสิกขามาใช้ในการพัฒนาสันติสุขภาวะของผู้สูงวัย อันได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา โดย 1) ศีล: ผู้สูงวัยสามารถนำศีล 5 หรือ ศีล 8 มาเป็นพื้นฐานในการฝึกพฤติกรรมให้ถูกต้อง ซึ่งหากรักษาศีลให้เป็นปกติแล้ว ย่อมส่งผลถึงสุขภาพกายและใจที่ดี ควรมีอินทรียสังวร โดยการฝึกฝนพฤติกรรมสำรวมการใช้อินทรีย์และพิจารณาการรับประทานอาหารอย่างมีสติ 2) สมาธิ: ช่วยให้ผู้สูงวัยใช้สติ ให้ระลึกรู้ ควบคุมจิตของตนเองด้วยการทำสมาธิ เพื่อสร้างพลังจิตใจให้เข้มแข็ง มั่นคง วางใจ รับการเปลี่ยนแปลงได้ มีจิตเมตตา อารมณ์แจ่มใส ร่าเรงิเบิกบานใจ และ 3) ปัญญา: ผู้สูงวัยสามารถฝึกอบรมในระดับโลกิยปัญญาได้ด้วยการตั้งใจศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รับฟังคำแนะนำจากกัลยาณมิตร ผู้มีความรู้ ผู้ทรงธรรม เพื่อให้คิดวินิจฉัยพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างเป็นระบบตามหลักโยนิโสมนสิการ โดยเฉพาะสิ่งที่บอกกล่าวต่อกันด้านสุขภาพทางสื่อสังคม ผู้สูงวัยควรฝึกพิจารณาด้วยปัญญาว่าสิ่งใดจริงสิ่งไม่จริง สิ่งใดควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อตามหลักแห่งความเป็นเหตุและผล ควรเข้าใจสภาวะธรรมของสังขารที่เสื่อมไป      

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Alexandrova, A. (2005). Subjetive Well-Being and Kahneman’s Objective Happiness. Journal of Happiness Study, 6, 301-324.

Chanpaiboon, U. (2016). Application of the Three Buddhist Principles of Training (Tisikkha) in Banlancing Life for the Aged. Ramkhamhaeng University Journal Humanities Edition, 35(1), 41-64.

Department of Mental Health. (2013). Guide to "5 Dimensions of Happiness" for the Elderly. Nonthaburi: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand, Ltd.

DiMatteo, M. R., Lepper, H. S., & Croghan, T. W. (2000). Depression Is a Risk Factor for Nocompliance with Medical Treatment. Archives of Internal Medicine, 160(14), 2101-2107.

Mahachulongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Moonmeang, N. (1998). Health Promotion: Professional Perspectives. Chonburi: Burapha University.

Nansuppawat, W. (2009). Elderly Nursing: Challenges with the Aging Population. (2nd ed.). Khon Kaen: Khon Kaen Printing.

Pankong, O. (2010). Elderly Nursing. Nonthaburi: Academic Welfare Project, Praboramarajchanok Institute.

Phra Dhammakosacariya (Ngueam Indapañño). (2009). Handbook for Mankind. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand, Limited.

Phra Thepsophon (Prayoon Dhammacitto). (2003). Direction of Thai Education. Bangkok: MCU Press.

Prachuabmoh, W. (2013). Annual Report Thai Elderly B.E. 2555. Nonthaburi: SS Plus Media Co., Ltd.

Royal Institute. (2003). Dictionary, Royal Institute Edition B.E. 2542. Bangkok: Nanmeebooks Publications.

Siriphanich, B. (2007). Elderly Handbook: Preparatory Edition for Elderly (Prepare before Retirement). Bangkok: Moh-Chao-Ban Press.

Somdet Phra Buddhaghosacariya (P.A. Payutto). (2012). Buddhadhamma. Bangkok: MCU Press.

Sornchai, P. et al. (2019). A Study on the Elderly Health Strengthening Model Following the Buddhist Principles in Ubon Ratchathani Province. Journal of MCU Ubon Review, 4(3), 145-154.

Srimoragot, P. (2008). Medical-Surgical Nursing: Clinical Management for Positive Outcomes. Bangkok: I-Group Press.

Thamon, P. (2011). Happiness of the Elderly in the Urban City: A Case Study at Wat Chaitid Community Bangkok Metropolis. (Master’s Thesis). Thammasa University. Bangkok.

Thankeow, B. (1996). Ethics. Bangkok: Odeonstore.

Thankeow, B., & Thankeow, U. (2003). Dhamma. Bangkok: Odeonstore.

Thongpratheep, Th. (2009). One Dimension of Spirituality in Nursing. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Trangkasombat, U. (2010). Everest: Takes your Child to Find Self-Esteem. Bangkok: Sunta Press Co., Ltd.

United Nation. (2020a). Ageing. Retrieved June 12, 2023, from https://wwwun.org/en/global-issues-ageing

United Nation. (2020b). World Population Ageing 2020 Highlights: Living Arrangements of Older Persons. New York: Office of the Director, Population Division.

Wanitchakham, A. (2021). The Preparation for Entering the Aging Society: A Case Study of Wat Sai Sub-District, Mueang Nakhon Sawan District, Nakhon Sawan Province. Journal of Modern Learning Development, 6(2), 59-74.

Watcharakup, Y., & Chitsuchon, S. (2020). Impact of COVID-19 towards the Elderly. Retrieved June 8, 2023, from https://tdri.or.th/2020/09/the-impact-of-covid-19-on-older-persons