กระบวนการพัฒนาสันติสุขภาวะผู้สูงวัยโดยพุทธสันติวิธี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา ความจำเป็น และแนวคิดทฤษฎีกระบวนการพัฒนาสันติสุขภาวะผู้สูงวัยตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาสันติสุขภาวะผู้สูงวัยโดยพุทธสันติวิธี 3) พัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาสันติสุขภาวะผู้สูงวัยโดยพุทธสันติวิธี โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเชียงรากน้อย ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมดจำนวน 35 รูป/คน ได้แก่ นักวิชาการ ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา จำนวน 20 รูป/คน ผู้สูงวัย จำนวน 15 รูป/คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง และนำมาวิเคราะห์อธิบาย เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของผู้สูงวัยโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเชียงรากน้อย มีปัญหาด้านสุขภาพ การปรับตัวให้เข้ากับครอบครัวสังคม สถานที่ทำงาน มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ การช่วยเหลือตนเองน้อยลงซึ่งจะต้องพึ่งพาผู้อื่น ผู้สูงวัยต้องเตรียมความพร้อมเพื่อจะอยู่กับครอบครัวและสังคมอย่างมีความสุข 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาสันติสุขภาวะผู้สูงวัยโดยพุทธสันติวิธี ผู้สูงวัยมีการพัฒนาฝึกฝนอย่างเป็นองค์รวมตามหลักของอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย (1) ฉันทะ มีความความพอใจในชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลง (2) วิริยะ มีความเพียรพยายามพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (3) จิตตะ มีสติ มีสมาธิสมบูรณ์ด้วยสุขภาพจิต ผ่องใส และสงบสุข 4) วิมังสา มีความใคร่ครวญมรปัญญา รู้จักแก้ปัญหาและรู้จักดำเนินชีวิต 3) กระบวนการพัฒนาสันติสุขภาวะผู้สูงวัยโดยพุทธสันติวิธี มุ่งพัฒนาเพื่อให้ผู้สูงวัย “เปิดใจ เรียนรู้ คิดบวก และพัฒนา” เริ่มจากการเสริมสร้างสติ เรียนรู้แบบองค์รวม สนทนาปลูกปัญญา และนำไปใช้พัฒนาในชีวิต ผู้วิจัยพบ “สูงสุขโมเดล” ประกอบด้วย สูงภายนอก (สุขภาพกายแข็งแรง) สูงภายใน (จิตแจ่มใส) สูงสติ (ฉลาดในการใช้ชีวิต) ส่งผลให้ผู้สูงวัย “เป็นที่รัก หนักแน่น มั่นคง”
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Department of Older Persons. (2017). Strategy of Department of Older Persons 20 Years (2018-2037). Bangkok: Samlada Printing.
Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2021). Situation of the Thai Elderly 2021. Retrieved November 20, 2022, from https://thaitgri.org/?p=40108
Khowtrakul, S. (2016). Educational Psychology. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Phra Paisal Visalo. (2007). Create Peace with Our Hands: Nonviolent Action Guide for Nonviolent Operators. Bangkok: Center for the Study and Development of Peaceful Means.
Phrabrahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2015). Dictionary of Buddhism. (13th ed.). Bangkok: Phitham Publishing House.
Thinakorn, J., Phrarajpariyattikavi, & Phra Pramote Watakovito. (2020). Enhancing Well-Being in Daily Life of Elderly Persons with Iddhipāda 4. Journal of MCU Peace Studies, 8(5), 1736-1748.
Wattanasirithorn, Ch., & Phramaha Hansa Dhammahaso. (2021). Peacebuilding Strategy to Support the Elderly Society: A Case Study of Sawai Sub-District, Prang Ku District, Sisaket Province. Journal of MCU Peace Studies, 9(3), 976-987.
World Health Organization. (2022). Ageing and Health. Retrieved December 4, 2022, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health