การพัฒนาผู้สูงอายุต้นแบบด้านการสื่อสารเพื่อเสริมพลังอำนาจในตนเอง ด้วยสันตินวัตกรรม

Main Article Content

ณัฐศิษย์ เดชาพิพัฒน์กุล
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาบริบท ปัญหา ความต้องการ และแนวคิดทฤษฎีการสื่อสารและการรับรู้พลังอำนาจในตนเองของผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการสร้างสันตินวัตกรรมการสื่อสารเพื่อเสริมพลังอำนาจในตนเองของผู้สูงอายุ 3) เพื่อสร้าง ทดลองใช้และนำเสนอผลการพัฒนาการผู้สูงอายุต้นแบบการสื่อสารเพื่อเสริมพลังในตนเองด้วยสันตินวัตกรรม ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยการทดลองนำร่อง สัมภาษณ์เชิงลึก 11 คน สนทนากลุ่มเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ 6 คน ทดลองกับกลุ่มผู้สูงอายุในตำบลบึงยี่โถ จำนวน 15 คน วัดผลด้วยแบบประเมินสมรรถนผู้สูงอายุ สังเกตการณ์ สะท้อนคิด วิเคราะห์ด้วยค่าสถิติ t-test


ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลของปัญหาเรื่องความคิดต่างทางการเมืองนำไปสู่ความหวาดระแวงทำให้ผู้คนไม่กล้าสื่อสารกันตรงๆ เท่าที่ควร จนทำให้การแบ่งกลุ่มแบ่งฝ่ายในการออกมาทำกิจกรรม จะสนิทสนมและจับกลุ่มกันแบบหลวมๆ ในการร่วมกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ การหวาดระแวงซึ่งกันและกัน ไม่เข้าใจกัน      ไม่กล้าเปิดรับเพื่อน กลุ่มคนใหม่ๆ การแข่งขันกันเองในกลุ่มผู้สูงอายุในศูนย์ และต่างศูนย์ การแสดงความเป็นเจ้าของพื้นที่ แนวคิดที่นำมาใช้ในการพัฒนาการสื่อสารของผู้สูงวัย คือ แนวคิดการสื่อสารอย่างสันติและการเสริมสร้างพลังอำนาจในตนเอง 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในตนเองของผู้สูงวัย คือ หลักพละ 5 ประกอบด้วยศรัทธา นำมาใช้ในการพัฒนาปลุกพลังความศรัทธาและความเชื่อมั่นในตนเองว่ายังมีคุณค่าและมีศักยภาพ วิริยะ นำมาใช้ในการปลุกศักยภาพ ความสามารถว่ายังมีคุณค่าต่อการรวมกลุ่ม หรือการเป็นจิตอาสาให้กับส่วนรวม สติ นำมาใช้ในการปลุกความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของตนเอง ระลึกรู้ตนเองและอยู่กับปัจจุบันเสมอสมาธิ หรือ ความตั้งจิตมั่น นำมาใช้ในปลุกจิตตั้งมั่น สงบ แน่วแน่ไม่ฟุ้งซ่าน ต่อการเห็นคุณค่าของตนเอง ปัญญา นำมาใช้ในการปลุกปัญญา ชี้นำแนวทางการแก้ปัญหาการดำเนินชีวิต การอยู่ร่วมในสังคม เป็นต้นแบบต่อการสื่อสารเพื่อเสริมพลังอำนาจในตนเอง 3) การพัฒนาผู้สูงอายุต้นแบบการสื่อสารเพื่อเสริมพลังอำนาจในตัวเองด้วยสันตินวัตกรรม คือ หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ (1) รักและศรัทธาตัวเอง (2) เรื่องเล่าเร้าพลัง แบ่งปันอย่างมีสไตล์ (3) สุขแท้สร้างได้ด้วยตัวเอง รู้เพื่อแบ่งปัน (4) รวมพลังแห่งจิตอาสา (5) โชว์แอนด์แชร์สร้างเครือข่าย (6) ปฏิบัติการสร้างพื้นที่พลังสูงวัยยังแจ๋ว โดยอบรม 3 วัน 21 ชั่วโมง และภาคปฏิบัติด้วยตนเอง 1 เดือน ผลการทดลองพบว่า สมรรถนะการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในตนเองของผู้สูงวัย หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่า t= 6.69 ผลที่เกิดขึ้นหลังอบรมเกิดการรวมกลุ่มของผู้สูงวัย 4​ โครงการ คือ สภากาแฟ รำไทยสร้างสุข อาหารเป็นยา และขยะเพิ่มมูลค่า องค์ความรู้การวิจัย คือ “5 STRONG MODEL สูงวัยเข้มแข็ง”

Article Details

How to Cite
เดชาพิพัฒน์กุล ณ., วัฒนะประดิษฐ์ ข. ., & วชิรปญฺโญ พ. . (2024). การพัฒนาผู้สูงอายุต้นแบบด้านการสื่อสารเพื่อเสริมพลังอำนาจในตนเอง ด้วยสันตินวัตกรรม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(3), 1069–1083. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/269896
บท
บทความวิจัย

References

Bueng Yitho Municipality Thanyaburi District, Pathum Thani Province and Faculty of Social Work, Thammasat University. (2022). Providing Integrated Services for the Elderly in the Community under the Concept of “STRONG MODEL”. Retrieved March 15, 2023, from https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/117433

Chatrupativin, K. (2018). Problems of Elderly Persons and Community Welfare Management: Case Studies of Two Communities in Wangthonglang Bangkok. Journal of Social Research, 41(2), 67-96.

Department of Older Persons. (2021). Current Aging Society and Economy in Thailand. Retrieved March 15, 2023, from https://www.dop.go.th/th/know/15/926

______. (2023). Action Plan for the Elderly, Phase 3 (2023-2037). Retrieved March 4, 2022, from https://www.dop.go.th/th/laws/1/28/843

Siribul, S. (1992). Facts and Attitudes Regarding Raising and Caring for the Elderly among Thai Young People. Bangkok: Churalongkorn University.

Su-nonthanam, N. (2018). The Self-Esteem of the Elderly through Line Application. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.

Thammathikul, A. (2015). The Development an Elderly Empowerment Model to Develop Community. (Doctoral Dissertation). Silpakorn University. Bangkok.

Thanapibul, I. (2012). The Participation of Civil Society Environmental Management: A Case Study of Network of Sea Conservation and Environmental Groups Bangkok. (Master’s Thesis). Silpakorn University. Bangkok.