กระบวนการพัฒนาขันติธรรมทางศาสนาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยพุทธสันติวิธี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา วิเคราะห์ สภาพปัญหา บริบท ความจำเป็นและแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาขันติธรรมทางศาสนาตามแนวทางสมัยใหม่ของ UNESCO 2) ศึกษาหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาขันติธรรมทางศาสนา 3) พัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาขันติธรรมทางศาสนา เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ตัวอย่างชุมชนที่ใช้ในการวิจัยคือ ตำบลบ้านป้อม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หมู่ที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 จำนวน 2,407 ครัวเรือน มี 3 ศาสนาคือ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม โดยเป็นงานวิจัยรูปแบบอริยสัจโมเดล สอดคล้องกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ภายใต้กรอบการดำเนินการวิจัย 9 ขั้นตอน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจงจำนวน 25 รูป/คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนา
ผลการศึกษาวิจัยมีดังนี้ 1) สภาพปัญหาของชุมชนคือ (1) พื้นที่สาธารณะบนถนนมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอในการใช้ร่วมกันช่วงน้ำท่วมซึ่งปรากฏทุกปี (2) ทำให้เกิดความขัดแย้งการแย่งการใช้ พื้นที่สาธารณะ (3) ส่งผลทางอารมณ์ ความอดทน อดกลั้น ไม่พูดกัน (4) ขาดผู้นำที่เข้าใจมาช่วยแก้ความขัดแย้ง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องนำแนวคิดสมัยใหม่ที่สอดรับกับปฏิญญาขันติธรรมของ UNESCO มาบูรณาการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีผลตามเป้าหมาย 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาขันติธรรมทางศาสนาเพื่อการอยู่ ร่วมกันอย่างสันติในสังคม คือ ขันติธรรม ได้แก่ การอยู่ร่วมกันในความแตกต่าง การยอมรับกัน การเคารพกัน การอนุญาต ในความแตกต่าง 3) ผู้วิจัยได้พัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาขันติธรรมทางศาสนา ตามองค์ประกอบ 9 ประการของขันติธรรม TOLERANCE MODEL ได้แก่ เสริมสร้างขันติ T = Tolerance, ส่งเสริมโอกาส O = Opportunity, สันติภายใน L = Love, สังเคราะห์ร่วมรู้ E = Empathy, สุขสันต์ สังสรรค์ R = Relationship, สร้างสรรค์สิ่งดี A = Advice, สนับสนุนสันติวิธี N = Nonviolent, สื่อสารเสนาะ C = Communication, เสาะหาพยายาม E = Effort ส่งผลในกระบวนการพัฒนาขันติธรรมทางศาสนา ให้ชุมชน มีความรักความสามัคคี ทำให้เกิดสันติภาพในชุมชนอย่างยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Berlo, D. K. (2017). Communication as Process: Review and Commentary. Annals of the International Communication Association, 1(1), 11-27.
Kline, N. (2000). The Ten Components of a Thinking Environment. Retrieved October 5, 2021, from https://www.coachingcultureatwork.com/wp-content/uploads/Nancy-Klines-Thinking-Environment.pdf
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.
Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2011). Way to Peace. Bangkok: Mahachulalongkornraja vidyalaya University Press.
Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammacitto). (2021). Benefits of Patience. A Special Sermon Delivered in the Buddhist Holy Day at Wat Prayurawongsavas Woravihara. Retrieved October 10, 2022, from https://www.watprayoon.com/main.php?url=about1&code=content147&id=158
Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto). (2003). Ways to Think about Buddhist Principles. (9th ed.). Bangkok: Dharmasarn Co., Ltd.
Phra Nattapon Sirivattano. (2019). Performance Effective of Public Health Volunteers in Muang District of Chaiyaphum Province. Journal of MCU Alumni Association, 7(2), 34-43.
Rosenberg, M. B. (1999). Nonviolent Communication: A Language of Compassion. Del Mar, Canada: Puddle Dancer Press.
Tachateerapreda, S., Hongthai, S., & Preechanan, C., (2017). The Participatory Action Research Project: Strategic Development for the Mobilization of Community Enterprise in Nakhon Ratchasima Province. Academic Journal of Humanities and Social Sciences, Burapha University, 25(49), 215-245.
Wijitwatchararak, K., & Phramaha Arun Panyaruno. (2019). Promotion of the Sangha Volunteer Spirit Network of the Lower Central Region in Thailand. Journal of Social Sciences and Buddhistic Anthropology, 6(7), 350-364.