กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐาน: ศึกษากรณีนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนจักราชราษฎร์สามัคคี จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

เข็มชาติ ทนกระโทก
พระธรรมวัชรบัณฑิต สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ สภาพปัญหา บริบท ความจำเป็น และแนวคิดทฤษฎี กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐาน ตามศาสตร์ใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อ กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐาน 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนจักราชราษฎร์สามัคคี จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) ตามกรอบของอริยสัจโมเดลตามแนวทางของบันได 9 ขั้น กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลจำนวน 32 คน/รูป ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน 6 คน ผู้ปกครองและนักเรียน 10 คนผู้ทรงคุณวุฒิการออกแบบกิจกรรม 6 คน/รูป ด้านพระพุทธศาสนาและสันติวิธี 5 รูป โรงเรียนต้นแบบ 5 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบทดสอบ โดยผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทและสภาพปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนจักราชราษฎร์สามัคคี จังหวัดนครราชสีมา พบว่า (1) ด้านกายภาพ นักเรียนยังขาดการเรียนรู้ที่มีสติแต่งกาย   ไม่เหมาะสม (2) ด้านพฤติภาพ ความประพฤติไม่เรียบร้อย ขาดระเบียบวินัย (3) ด้านจิตภาพ นักเรียนไม่กล้าแสดงออก ขาดจิตอาสาเมตตา ขาดสติจดจ่อการเรียนสั้น (4) ด้านปัญญาภาพ ขาดปัญญาทักษะในการแก้ปัญหาการเรียน 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการต่อกระบวนการเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐาน พบว่า หลักสติปัฏฐาน 4 มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสติ ทั้งเชิงรับและสติเชิงรุก ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ทางกาย ความรู้สึก รู้เท่าทันความคิด 3) กระบวนการการพัฒนาการเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนจักราชราษฎร์สามัคคี จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ต้องใช้กระบวนการพัฒนาสติเชิงรุก และสติ  เชิงรับ โดยมีขั้นตอนการพัฒนาการฝึกอบรม 4 ขั้นตอน

Article Details

How to Cite
ทนกระโทก เ. ., สมฺมาปญฺโญ พ. ส. . ., & วาทโกวิโท พ. . (2024). กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐาน: ศึกษากรณีนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนจักราชราษฎร์สามัคคี จังหวัดนครราชสีมา . วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(3), 1138–1149. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/269681
บท
บทความวิจัย

References

Buddhadasa Bhikkhu. (1985). Consciousness. 2nd Edition. Bangkok: Chakranukun Printing.

Kaewsowatana, N., & Phramaha Hansa Dhammahaso. (2021). The Developmental Process of Mindfulness-Based Learning: A Case Study Upper Primary School at Ban Tha Khoi Nang School, Sisaket Province. Journal of MCU Peace Studies, 9(3), 1001-1014.

Limcharoen, K. (2019). A Process of Leadership Development for Peace According to Buddhist Integration. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Office of the National Economic and Social Development Council. (2017). The Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Retrieved March 20, 2021, from https://www.nesdc.go.th/nesdb_en/ewt_dl_link.php?nid=4345

Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammachitto). (2014). How to Integrate Buddhism with Modern Science Buddhism and National Reconciliation. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing Press.

Phramaha Supakij Supakijjo (Pakdisaen). (2015). Human Resource Development According to the Threefold Principles. Buddhacakra, 69(6), 52-58.

Ruangsiri, N., Phramaha Hansa Dhammahaso, & Phra Promote Vadakovido. (2021). The Development of Concentration and Mindfulness Based Learning Processes: A Case Study of the Junior Secondary School Students Sawaipittayakom, Sawai Sub-district, Prang Ku District, Sisaket Province. Journal of MCU Peace Studies, 9(3), 988-1000.