วิกฤตจำนวนศาสนทายาทเพื่อการรักษาพระพุทธศาสนา

Main Article Content

ปวีณา อุดมสถาผล
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอภาวะวิกฤตของจำนวนศาสนทายาท ที่มีแนวโน้มว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยชี้ให้เห็นว่าผู้ที่จะบรรพชาเข้ามาเป็นศาสนทายาทรายใหม่ก็ลดน้อยลง ส่วนผู้ที่เป็น        ศาสนทายาทอยู่แล้วก็ไม่สามารถอยู่ในเพศบรรพชิตได้ยาวนานเพียงพอที่จะเป็นกำลังหลักในการรักษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา


จากการวิจัยปริมาณของศาสนทายาทที่ลดลงอย่างต่อเนื่องนั้น เห็นได้ชัดจากจำนวนของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแทบจะทุกแห่งลดลงเช่นเดียวกัน มีศาสนทายาทเข้ามาศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรมจำนวนน้อยลงอย่างต่อเนื่องอันเป็นการสนับสนุนให้เห็นถึงจำนวนศาสนทายาททั่วประเทศที่ลดลงเช่นเดียวกันการลดลงของศาสนทายาทนั้นเกิดจากทั้งปัญหาทั้งระดับปัจเจกบุคคลและระดับโครงสร้าง โดยระดับปัจเจกบุคคลนั้นเกิดจากความไม่มั่นใจในด้านต่างๆ ดังนี้ 1) ด้านสวัสดิภาพ พบว่าไม่มั่นใจด้านความรุนแรง ความปลอดภัย และความอบอุ่นที่ศาสนทายาทจะได้รับจากคณะสงฆ์ 2) ด้านสวัสดิการ พบว่าไม่มั่นใจด้านการดูแล เช่น โภชนาการ สวัสดิการการรักษาเมื่อยามเจ็บป่วย 3) ด้านการศึกษา พบว่าไม่มั่นใจด้านคุณภาพการศึกษาภายในคณะสงฆ์ ส่วนระดับโครงสร้างพบว่าเกิดความเหลื่อมล้ำทั้งทางสังคมและทางการศึกษา โดยทางสังคมนั้นเกิดความไม่สมดุลระหว่างความต้องการศาสนทายาทกับจำนวนศาสนทายาท ส่วนความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ระบบการศึกษาภายในคณะสงฆ์นั้นมีคุณภาพที่แตกต่างจากโรงเรียนข้างนอก


แนวทางการแก้ปัญหาในระดับปัจเจกจะต้องสร้างแรงจูงใจในการบรรพชาให้เกิดขึ้นกับทั้งเด็กและเยาวชนรวมทั้งผู้ปกครอง โดยแรงจูงใจจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1) เป็นกลไกที่ไปกระตุ้นให้เกิดการกระทำ และ 2) เป็นแรงบังคับให้กระทำอย่างมีทิศทาง ซึ่งการสร้างแรงจูงใจจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ระดับสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา และภาครัฐ บูรณาการร่วมมือกันสร้างแรงจูงใจขึ้น โดยใช้ระบบสวัสดิภาพ สวัสดิการ และการศึกษา เป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้เด็กและเยาวชนและครอบครัวมั่นใจได้ว่าเมื่อเข้ามาบรรพชาเป็นศาสนทายาทแล้วจะไม่ถูกทอดทิ้งให้อยู่ด้านหลัง มีความปลอดภัย มีระบบการศึกษาที่ดีเพียงพอ เมื่อมีเครื่องมือที่ดีเพียงพอที่จะสร้างแรงจูงใจจนสามารถนำแรงจูงใจนั้นไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปริมาณศาสนทายาทจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นกำลังที่จะรักษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Bannaruji, B. (2022). Professor of Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Interview. January 27.

Kananurak, M. (2004). Psychology and Human Communication. Bangkok: Odeonstore.

Lapthananon, P. (1986). On Role of Buddhist Religious in Development of Rural Areas in Thailand. Bangkok: Social Research Institute, Chulalongkorn University.

Loudon, D., & Bitta, A. (1998). Consumer Behavior: Concepts and Applications. (3rd ed.). New York: McGraw Hill.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Mahamakut Buddhist University. (2022). The History of Mahamakut Buddhist University. Retrieved September 29, 2022, from https://www.mbu.ac.th/about/post-416/

National Office of Buddhism. (1997). Preceptor's Guide. Bangkok: National Office of Buddhism Print.

National Statistical Office of Thailand. (2022). Statistics of Religious Personnel and Places of Worship in Thailand. Retrieved September 29, 2022, from http://ittdashboard.nso.go.th/preview.php?id_project=56

Office of the Education Council, Ministry of Education of Thailand. (2009). Proposed Educational Reform in the Second Decade (2009-2018). Bangkok: Office of the Education Council.

Phra Debvedhi (P.A. Payutto). (1993). Buddhism Situation: Changing Crisis to Development. Bangkok: Religious Affaires Printing

Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto). (2016). Follow the New Monks to Study Dharma. Bangkok: Buddha Dham Foundation.

Phrakhrusangkhakitbanhan (Kanchana Santikaro). (2022). Director of Phrapariyattidham Wat Dhammamongkol School. Interview. November 24.

Phrakhrusutachayaporn (Phramaha Singchai Dhammajayo), & Pramaha Keerati Worakiti. (2014). The Way for Education Management for Buddhism Successor in Thai Society. Nakorn Lampang Buddhist College's Journal, 4(1), 1-14.

Phramaha Suwit Dhammikamuni (Theeranet), & Homthuanlum, T. (2018). The Motivation for Novice Rodination in Thai Society. Journal of Graduate Studies Review Mahachulalongkornrajavidyalaya University, 14(2), 55-65.

Phraratwatraphon (Sompong Thitavangso). (2022). Committee Chairman of Phrapariyattidham Secondary School. Interview. January 28.

Ua-amnoey, J. (2006). Social Psychology. (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.

Woolfolk, A.E. (1993). Education Psychology. (5th Ed.). Boston: Allyn & Bacon.