การออกแบบตัวละครจากตำนานเรื่องเล่าผีล้านนาสู่การสร้างสรรค์งานศิลปะมัลติมีเดียเพื่อเผยแพร่อัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรม

Main Article Content

สิริวิชย์ พังสุวรรณ
ฉลองเดช คูภานุมาต

บทคัดย่อ

การศึกษาการออกแบบตัวละครจากตำนานเรื่องเล่าผีล้านนาสู่การสร้างสรรค์งานศิลปะมัลติมีเดีย เพื่อเผยแพร่อัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเรื่องราวของวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับผีล้านนาและบทบาทของผีที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านล้านนา 2) นำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า และการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องผีในวัฒนธรรมล้านนา มาพัฒนาสู่การออกแบบตัวละคร นำเสนอในรูปแบบงานสร้างสรรค์สื่อมัลติมีเดีย ในการศึกษาครั้งนี้ มีลักษณะเป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ศิลปะ มีการศึกษาทั้งภาคเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และการเก็บข้อมูลเชิงลึกภาคสนาม ในบริบทวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับผีล้านนาและบทบาทของผีที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านล้านนา โดยมีพื้นที่วิจัยคือ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ กำหนดเป็นแนวความคิด และเทคนิคทางคอมพิวเตอร์กราฟิก นำเสนอในรูปแบบพรรณาและเสนอผลงานสร้างสรรรค์ศิลปะ


จากการศึกษาพบว่า 1) ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับผี มีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของชาวล้านนามาตั้งแต่อดีต ซึ่งแฝงไปด้วยกุศโลบายและแนวทางการใช้ชีวิตให้แก่คนในสังคม ความเชื่อเหล่านี้   ถูกหยิบยกเอาเนื้อหาความเชื่อดั้งเดิมบางประการมาผลิตซ้ำผ่านยุคสมัย โดยสอดแทรกค่านิยมทางสังคม เรื่องราวในเชิงวัฒนธรรมและพิธีกรรม หล่อหลอมเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา และถูกถ่ายทอดในรูปแบบนิทานพื้นบ้านในเวลาต่อมา ผ่านกระบวนการปลูกฝังและเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งต่อแก่ชนรุ่นหลังเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องตามประเพณีและความเชื่อที่มีมาแต่อดีต 2) ผู้วิจัยได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะมัลติมีเดียจากการหยิบยกเอาความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับผีล้านนา มาผลิตซ้ำในรูปแบบของการออกแบบตัวละครผ่านการรวบรวมข้อมูลจากวรรณกรรมมุขปาฐะ และวรรณกรรมลายลักษณ์ อันเป็นภูมิปัญญาที่ได้รับสืบทอดกันมาแต่โบราณจากบรรพชน มาทำการเรียบเรียงและบันทึกเสียงเพื่อแปลงข้อมูลดั้งเดิมสู่ความเป็นไฟล์ดิจิทัล และแปลงค่าเป็นรูปทรงผ่านกระบวนการการทำงานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ภาพเคลื่อนไหวแบบอิสระภายใต้รูปทรงเลขาคณิต และนำมารสร้างสรรค์เป็นตัวละครผีล้านนา อันเป็นมิติใหม่ของการเรียนรู้เรื่องราวทางวัฒนธรรม ให้ผู้ชมได้เห็นถึงความเป็นรูปธรรมของผีล้านนา โดยอาศัยเทคนิคและทฤษฎีการออกแบบ ตลอดจนสื่อมัลติมีเดีย เป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจ และสืบทอดคุณค่าอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ให้สามารถเข้าถึงผู้คนในยุคปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้น จากการสร้างสรรค์งานศิลปะในครั้งนี้สามารถ  ต่อยอดเป็นการสร้างรายได้ในรูปแบบ สินค้าวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการเผยแพร่อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมผ่านรูปแบบสินค้าและสื่อชนิดอื่นต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anantasant, S. (2004). Folk Legends. Bangkok: Ramkhamhaeng Printing.

Kanchanaphan, A. (1992). Lanna in the Cultural Dimension. Lecture Notes. Chiang Mai: Faculty of Social Sciences Chiang Mai University.

Kumpha, A. (2012). Pu Sae Ya Sae with the Ritual of Spirit Worship of Chiang Mai. Suranaree Journal of Social Science, 6(2), 99-122.

Manasam, M. (2012) The Study of Clothing Pattern in Lan Na Ritual “FON PEE” (Spiritual Dance). Chiangmai: Fine Arts Journal.

Panyo, S. (2010). A Study of the Role of Ghosts in Lanna Folklore. (1st ed.) Chiang Mai: Nopburi Printing.

Pattanasuwan, C. (2006). Japanization of Thai Youth: A Case Study of J-Pop Fans. (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.

Phlu Luang. (2003). 7 Thai Beliefs, Siamese Motto. (2nd ed.). Bangkok: Ancient City.

Sae Tae, T. (2008). Cultural Myths Appearing in Korean Drama and Creating Business Benefits. (Master’s Thesis). Dhurakij Pundit University. Bangkok.

Shigeru, M. (2015). Little Demon Kitaro's Character Design Work. Retrieved September 14, 2018, from https://mgronline.com/japan/detail/9580000132801

Sirikunnaruemit C. (2015). Communication Elements and Korean Music Trend in Thailand. (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.