รูปแบบการส่งเสริมและการปฏิบัติต่อศาสนาในประเทศไทยและสิงคโปร์

Main Article Content

พระมหาเกรียงศักดิ์ อินฺทปญฺโญ
พระสุธีรัตนบัณฑิต
พระครูอุทัยกิจจารักษ์
พระครูวศินวรกิจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมและการปฏิบัติต่อศาสนาของรัฐในประเทศสิงคโปร์ 2.เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมและการปฏิบัติต่อศาสนาของรัฐในประเทศไทย 3.เพื่อเสนอรูปแบบที่เหมาะสมในการส่งเสริมการปฏิบัติต่อศาสนาของรัฐ กรณีศึกษาประเทศสิงคโปร์สู่ประเทศไทย โดยดำเนินการการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกตัวแทนขององค์กรศาสนาและหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 12 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. รัฐสิงคโปร์ปฏิบัติต่อองค์กรทางศาสนาแบบแยกส่วนคู่ขนานกัน โดยรัฐทำหน้าที่ของรัฐให้สมบูรณ์ ในขณะที่องค์กรทางศาสนาต้องปฏิบัติตามหลักของแต่ละศาสนา หากมีปัญหาความขัดแย้งหรือสิ่งผิดปกติทางศาสนารัฐจะจัดการแก้ไขอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามรัฐยังคงมีการควบคุมองค์กรทางศาสนาในบางกรณีที่จำเป็น แต่จะกระทำอย่างสร้างสรรค์โดยใช้ความสุภาพ พร้อมทั้งเห็นชอบหลักสูตรศาสนศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ 2.รัฐไทยปฏิบัติต่อศาสนาผ่านกฎหมาย และให้งบประมาณสนับสนุนแก่องค์กรศาสนาในกิจกรรมตามความต้องการขององค์กรทางศาสนา และกิจกรรมที่รัฐเห็นสมควร พร้อมทั้งควบคุมองค์กรศาสนาผ่านกฎหมายฉบับต่างๆ 3. รูปแบบที่รัฐไทยควรนำมาปฏิบัติต่อศาสนาโดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับประเทศสิงคโปร์มีอยู่ 2 รูปแบบคือ 1) การควบคุมอย่างสร้างสรรค์ โดยเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางศาสนาอย่างรวดเร็วและสุภาพมากกว่าใช้กฎหมายมาปราบปรามอย่างรุนแรง 2) ยกระดับงานส่งเสริมศาสนาที่รัฐดำเนินการอยู่แล้วให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและคุ้มค่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Duan, K. (2001). Satsanasat. Bangkok: Samnakphim Mahawitthayalai Kasetsat.

Goh, D. P. (2010). State and social Christianity in post-colonial Singapore. Sojourn Journal of Social Issues in Southeast Asia, 25(1), 54-89.

Suchip, P. (1997). Prawattisat satsana. Bangkok: Rongphim Mahamakut Ratchavitthayalai.

Sathian, P., & Alumni Association Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1991). Satsana priapthiap. Bangkok: MCU Press.

Tamney, J. B. (1996). The struggle over Singapore's soul. Western modernization and Asian culture, (No.70), 57-86.

Tong, C. K. (2002). The making of Singapore sociology: Society and state. Journal of Southeast Asian Studies, 36(2), 241-256

US Department of State. (2006). International Religious Freedom Report 2006. Retrieved November 5, 2020, from https://2009-2017.state.gov/j/drl/rls/irf/2006/71357.htm

Wattanarung, P. (2007). Principles of public law. (5th ed). Bangkok: Rongphim Mahawitthayalai Ramkhamhaeng.