วิเคราะห์ครอบครัวสันติสุขเชิงพุทธ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวการณ์ปัญหาครอบครัวไทยในปัจจุบัน และศึกษาวิธีเสริมสร้างครอบครัวสันติสุขเชิงพุทธ โดยการศึกษาเชิงเอกสารจากคัมภีร์พระไตรปิฎก สื่อออนไลน์ และวรรณกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ซึ่งพบว่าสภาพปัญหาครอบครัวไทยในปัจจุบัน มีสาเหตุ 2 ประการ คือ 1. สาเหตุภายใน เกิดจากสมาชิกในครอบครัวขาดหลักธรรม ไม่ยึดหลักธรรมในการครองเรือนและมีการประพฤตินอกใจกัน ฯลฯ และ 2. สาเหตุภายนอก เกิดจากปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการพัฒนาระบบการสื่อสารและเทคโนโลยีที่เจริญมากขึ้น ฯลฯ ซึ่งสาเหตุดังกล่าว ส่งผลให้สมาชิกในครอบครัวเกิดความเหินห่างกันจนทำให้ขาดความอบอุ่นในครอบครัว ขาดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ในบทความนี้จะนำเสนอการประยุกต์หลักธรรมในการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุข ในเบื้องต้นสมาชิกในครอบครัวต้องมีหลักสมชีวิธรรม ซึ่งเป็นหลักธรรมสำหรับเลือกคู่ครอง คือ มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน และมีปัญญาเสมอกัน หลักสทารสันโดษ เป็นหลักธรรมที่ส่งเสริมให้มีความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน ยินดีในสามีภรรยาของตน และหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ช่วยให้ได้ประโยชน์ในปัจจุบัน และหลักฆราวาสธรรม 4 ซึ่งเป็นหลักธรรมสำหรับฆราวาสผู้ครองเรือนไปใช้ในการดำเนินชีวิต ด้วยหลักการ ดังนี้ (1) เลือกคู่ครองที่เหมาะสม (2) มีความหนักแน่นมั่นคง (3) ศึกษาหลักการที่ดีให้กับครอบครัว (4) มีศีลเป็นพื้นฐานในการดูแลครอบครัว และ (5) ให้ความเคารพและเลี้ยงดูบิดามารดา ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าว เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุขเชิงพุทธ
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.
Payutto, P.A. (2014). Buddhadhamma. (19th edition). Bangkok: MCU Press.
Phrakru nipasdhammāthimut. (2010). Family Conflict Solution Applied From Theravāda Buddhism Dhamma.(Master’s Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Ayutthaya.
Phra Rajvijitpatipharn. (2016). Kondeetitongpidthong. Bangkok: Liangxiang Print Press.
Maechee Wongphet Kongjan. (2016). A Model for Strengthening Thai Families in the Integrated Buddhist Perspective. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Ayutthaya.
Health Promotion Office, Departmentof Health, Ministry of Public Health. (2006). Manual of Work for Public Health Staff, Strong and Warm Family, Strong Thailand. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand, Ltd. Press.
Rakthonglor, T. (2007). To Teach Children to be Good. Bangkok: The Siam Commerc.iaF
Samran, P. (2019). Cause of Family Problems. Retrieved May 6, 2020, from http://www.l3nr.org/posts/336015.
Sathanan, C. (1998). Family: Centuries Connection in Thailand. Bangkok: Withthat Project.
Sesatho, R. (1985). Rural Sociology. Bangkok: Thaiwattana Panich.
The Manager. (2009).“KiK” Mail Cause Fast Resolution-First, add a Problem Child, Retrieved May 6, 2020, from http://www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=952000002832.