การประเมินความต้องการจำเป็นทักษะการทำงานแห่งอนาคต สำหรับนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ

Main Article Content

รัตนา ปฏิสนธิเจริญ
จตุพล ยงศร
จักรกฤษณ์ โปณะทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาทักษะการทำงานแห่งอนาคต 2) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นทักษะการทำงานแห่งอนาคตสำหรับนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ตัวแทนนักศึกษา ตัวแทนอาจารย์ ตัวแทนผู้ว่าจ้าง และตัวแทนบัณฑิต จำนวน 12 คน และ 2) ผู้อำนวยการ ผู้จัดการหรือหัวหน้างาน ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน จำนวน 379 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลสัมภาษณ์ด้วยการตีความสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามด้วยค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลจากการประเมินความต้องการจำเป็นด้วยการหาค่า Modified Priority Need Index ผลการวิจัย พบว่า ทักษะการทำงานแห่งอนาคต ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ 1) ความสามารถในการทำความเข้าใจข้อมูลระดับสูง 2) ความคิดนอกกรอบและความคิดในเชิงปรับตัว 3) ความคิดเชิงคอมพิวเตอร์ 4) ความเข้าใจในสื่อใหม่ 5) ความฉลาดทางสังคม 6) ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่าง และ 7) ความสามารถในการทำงานร่วมกันในสิ่งแวดล้อมเสมือน ความต้องการจำเป็นที่พบมากที่สุด ได้แก่ ด้านความคิดนอกกรอบและความคิดในเชิงปรับตัว พบว่า มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญเท่ากับ 0.2020 รองลงมาเป็น ด้านความเข้าใจในสื่อใหม่ (PNI Modified = 0.2000) ด้านความฉลาดทางสังคม (PNI Modified = 0.1984) ด้านความสามารถในการทำความเข้าใจข้อมูลระดับสูง (PNI Modified = 0.1980) ด้านความคิดเชิงคอมพิวเตอร์ (PNI Modified = 0.1955) ด้านความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่าง (PNI Modified = 0.1886) และด้านความสามารถในการทำงานร่วมกันในสิ่งแวดล้อมเสมือน มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญเท่ากับ 0.1879 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ปฏิสนธิเจริญ ร. ., ยงศร จ. ., & โปณะทอง จ. . (2020). การประเมินความต้องการจำเป็นทักษะการทำงานแห่งอนาคต สำหรับนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(6), 2377–2391. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/242180
บท
บทความวิจัย

References

Buarod, B. (2014). Skills of the future: 21st Century Learning. Journal of Information, 13(1), 39-49.

Manpower Group. (2019). Thailand holds labor skills development - education to compete in the world market. Retrieved August 2, 2019, from https://www.brandbuffet.in.th/2019/03/manpower-group.

Office of the Nation Economic and Social Development Council. (2018). 20 Year National Strategic Master Plan (2017 - 2036). Bangkok: Office of the Nation Economic and Social Development Council.

Soisakul, P. (2016). Developing the 21st century skills for vocational students in the private vocational institutes in eastern seaboard area. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Burapha University. Chonburi.

Thailand Development Research Institute. (2013). New models in development: achieving quality growth by increasing productivity. Retrieved August 2, 2019, from http://tdri.or.th/wp-content/uploads/2013/11/paper_3_3_YE2013.

Thailand Development Research Institute. (2019). Skills for the future. Retrieved August 2, 2019, from https://tdri.or.th/tag/ทักษะแห่งศตวรรษที่-21.

Thanormchayathawat, B., Vanitsuppavong, P., Niemted, W., & Portjanatanti, N. (2016). 21st Century Skills: A Challenge for Student Development. The Southern College Network. Journal of Nursing and Public Health, 3(2), 208-222.

Vongvanit, S. (2007). Needs assessment research. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Wongkittikaiwal, M. (2018). Chula joins hands with world-class universities Analyze the necessary skills of managers and future workers. Retrieved October 6, 2019, from https://thestandard.co/flagship-summit-2018-skills-for-the-future.