ความเชื่อทางจิตวิญญาณทวดที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้เกี่ยวกับความเชื่อทางจิตวิญญาณทวดที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดตรัง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาตำนาน และรูปแบบความเชื่อเกี่ยวกับทวด ศึกษาอิทธิพลของทวดที่มีต่อวัฒนธรรมท้องถิ่น และ 2) เพื่อศึกษาการกระจายตัวของอิทธิพลของทวดในพื้นที่จังหวัดตรัง เก็บข้อมูลจากการลงพื้นที่และการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลผ่านโครงสร้างของทฤษฎีสี่เสาวัฒนธรรม ได้ผลดังนี้ เสาต้นที่ 1 องค์วัตถุ พบว่าทวดในจังหวัดตรังจะเป็นทวดในรูปของงูจงอาง เสาต้นที่ 2 องค์มติ พบว่าองค์มติหรือคตินิยมเกี่ยวของทวดในจังหวัดตรัง ส่วนใหญ่จะเริ่มจากชุมชนที่มีศรัทธาอันแรงกล้าในศาสนามาก่อน เริ่มจากบูชาผี และรับเอาความเชื่อในศาสนา เสาต้นที่ 3 องค์การ พบว่าทวดในรูปของสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่ของจังหวัดตรัง มีผู้นำชุมชนและชาวบ้าน ปรากฏรูปงานประติมากรรมเคารพบูชาของทวดและมักจะมีบทบาทเป็นอย่างสูง ในการเป็นผู้นำในพิธีกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำนุบำรุงรูปประติมากรรมเคารพบูชา หรือการดูแลสถานที่บูชา เสาต้นที่ 4 องค์พิธีการ จำแนกออกได้เป็น 2 ส่วน คือส่วนแรก อิทธิพลของพิธีการ : พบว่าศาสนาผีหรือความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพลังอำนาจเหนือธรรมชาติ ถือเป็นจุดกำเนิดของรากเหง้าทางความเชื่อของทวดในรูปสัตว์ชนิดต่างๆ จากนั้นจึงมีการผสมผสานความเชื่อของศาสนาอื่นลงไป ส่วนที่สอง องค์ประกอบของพิธีการ: พบว่า ประกอบด้วยปัจจัยในการประกอบพิธีการ คือ สถานที่ วันเวลา นัดหมาย กลุ่มชนที่เข้าร่วม เครื่องบูชา และการแก้บนหรือพิธีกรรม
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Julaket, J. (1971). Basic Anthropology. Bangkok: Office of the National Culture Commission.
Duangwiset, N. (2017). “Mana” Power Above Nature in Dictionary of Anthropology. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre.
Jittham, P. (1979). Belief. Songkhla: Mongkon Printing.
Payomyong, M. (1993). Thai Belief in Flok Culture: Belief. Bangkok: Chulalongkorn University.
Ronnaruen, S. (1997). Introduction to philosophy. Bangkok: Aksornpittaya.
Onkom, S. (1999). Comparative religion. Bangkok: Duangkaew.
Phongpaiboon, S. (1986). Beliefs from religious doctrine of southerners in Southern Culture Encyclopedia 1986. Muang Songkhla: The institute for Southern Thai Studies.
Boonchuay, A. (2001). Study the myths and beliefs about great-grandparents in the Sathing Phra Peninsula Songkhla province. Songkhla: Taksin University.
Robert K. Y. (2003). Case Study Research Design and Methods. (3rd ed.). London: Sage Publications Ltd.