กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาอาชีวศึกษายุคการศึกษา 4.0 สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

กาญจนา สุขใจ
พา อักษรเสือ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะของนักศึกษาอาชีวศึกษา ในยุคการศึกษา 4.0 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาอาชีวศึกษา 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาอาชีวศึกษา ในยุคการศึกษา 4.0 โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 290 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี (PNImodified) ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบของการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาอาชีวศึกษา ในยุคการศึกษา 4.0 มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่1) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2) สมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไป 3) สมรรถนะวิชาชีพ และ 4) การศึกษาอาชีวะ 4.0 2. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาอาชีวศึกษา ในยุคการศึกษา4.0 สภาพปัจจุบัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาอาชีวศึกษา ในยุคการศึกษา4.0 ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ 40 มาตรการ และ 57 ตัวชี้วัดความสำเร็จ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 ด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไป มี 10 มาตรการ 10 ตัวชี้วัดความสำเร็จ กลยุทธ์ที่ 2 ด้านสมรรถนะวิชาชีพ มี 8 มาตรการ 10 ตัวชี้วัดความสำเร็จ กลยุทธ์ที่ 3 ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มี 12 มาตรการ 24 ตัวชี้วัดความสำเร็จ กลยุทธ์ที่ 4 ด้านการศึกษาอาชีวศึกษา 4.0 มี 10 มาตรการ 13 ตัวชี้วัดความสำเร็จ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaiprasit, K. (2009) Model of knowledge management organization of Thai community Business. (Doctoral Dissertation). Chiang Mai University. Chiang Mai.

Dumrong (2016). Factors contributing to the success of good governance in schools: interviews with people involved in education. Journal of Educational Research, 8(2), 200-211.

Greg, & Bounds. (2010). Beyond Total Quality Management: Toward the Baldrige Criteria:

Non-Academic Swevice Units in a Large University. (Doctoral Dissertation). University of Nebraska-Lincoln. Nebraska.

Kaewsisuan, N. (2013). Development of Academic Administration Model in State Vocational Education Institutions. (Doctoral Dissertation). Rajabhat University Surat Thani. Surat Thani.

Kanchanawassi, S. (2009). A Set of Self-Learning Tools for School Administrators' Development. Bangkok: Office of the Basic Education Commission.

Nilsook, P. (2018). Promoting Learning in the 21st Century to Support Thai Society in The Digital Age. Journal of Lampang Rajabhat University, 6(1), 173-184.

Office of Vocational and Vocational Standards. (2013). Introduction to the Office of Vocational Education Standards and Vocational Diploma 2013 B.E. Bangkok: Office of the Vocational Education Commission Ministry of Education.

Phakaphaswiwat, S. (2008). Strategic Management. (18th ed.). Bangkok: Amarin.

Thamchoti, J. (2008). Simple Strategy Planning That Is Practical. Bangkok: Thammasat University.

Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World.

Vocational Education Commission (2009). Office of the Private Education Commission Arrange vocational education Bangkok: Office.