รูปแบบการบูรณาการวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยและพัฒนา (Research and Development) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการพัฒนารูปแบบการบูรณาการวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีธรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ (1) การศึกษาสภาพปัจจุบันของการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีธรรม (2) การพัฒนารูปแบบฯและทดลองใช้รูปแบบฯ และ (3) การประเมินผลรูปแบบฯ โดยผู้วิจัยดำเนินการรวบรวมข้อมูลในแต่ละระยะ จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาจำนวน 384 คน ระยะที่ 1 เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ที่ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 28 คน ระยะที่ 2 การสนทนากลุ่มร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน เพื่อพัฒนารูปแบบฯและนำไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลองที่เลือกแบบเจาะจง จำนวน 60 คน (one group pre-test, post-test design)และระยะที่ 3 ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน ประเมินผลรูปแบบฯ สำหรับเครื่องมือการวิจัยที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสนทนากลุ่ม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ได้ผ่านการตรวจคุณภาพของเครื่องมือจากผู้ทรงคุณวุฒิ จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และสำหรับข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบูรณาการวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีธรรม มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ การดำเนินการ การประเมินผล และเงื่อนไขความสำเร็จ ดังนี้ 1) หลักการ คือการดำเนินการพัฒนาบุคคลให้บูรณาการวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีธรรมในวิถีชีวิต โดยการใช้“ไตรศาสตร์การดูแลตนแบบวิถีธรรม” หรือการดูแลตนแบบเลิศหลักเสริม ประกอบด้วย (1) เลิศด้วยธรรม ด้วยวิธีการสวดมนต์ ฟังธรรม ทบทวนธรรม สนทนาธรรม ตั้งศีลมาปฏิบัติ และรู้เพียรรู้พักให้พอดี (2) กระทำเป็นหลัก ด้วยการรับประทานอาหารปรับสมดุลและออกกำลังกายให้เป็นหลักอย่างพอเพียง และ (3) เสริมรู้จักประมาณ เลือกใช้วิธีการระบายพิษปรับสู่สมดุลให้พอเหมาะ 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบุคคลให้สามารถบูรณาการวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีธรรมในวิถีชีวิต 3) การดำเนินการ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) สร้างความตระหนักถึงปัญหาสุขภาพ (2) ศึกษาให้เข้าใจและทดลองพิสูจน์ (3) ปฏิบัติด้วยอิทธิบาท 4 (4) เป็นแบบอย่างที่ดี (5) รวมพลังแบ่งปันด้วยใจที่บริสุทธิ์ 4) ประเมินผลความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง การปฏิบัติและสุขภาวะองค์รวม 5) เงื่อนไขแห่งความสำเร็จ ได้แก่ (1) ปัจจัยภายใน: แรงบันดาลใจ เปิดใจเรียนรู้ ศรัทธาแบบอย่างที่ดี เชื่อเรื่องวิบากกรรม (2) ปัจจัยภายนอก: ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว จิตอาสา บุคลากรสาธารณสุข แหล่งเรียนรู้การแพทย์วิถีธรรม มูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย หน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐและภาคประชาสังคม
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chokwiwat, W. (2016). WHO Traditional Medicine Strategy 2014-2023. Bangkok: USA Printing.
Division of Complementary and Alternative Medicine. (2012). Course of Alternative Medicine for Self-Sufficiency in the Sufficiency Economy. Bangkok: Ministry of Public Health.
Janjaruporn, M. (2016). Dhammanamai. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.
Kantharadussadee Triamchaisri, S. (2014). Meditation SKT for Healing. Pisanulok: Trakulthai.
Klajon, J. (2010) The Illness and Care Taking of One’s Health in Accordance with Sufficiency Economy Principles on Buddhist Medicine of Suanpanabun: The learning center for self healing in accordance with the principles of sufficiency economy Dontan district, Mukdaharn province. (Master’s Thesis). Faculty of Management Science: Ubon Ratchathani University. Ubon Ratchathani.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), 607-610.
Nasa-arn, et al. (2019) The Evaluation research of Dhamma medicine healthy family building Project for Roi Kaen Sara Sin without belly and without disease. Kalasin: Kalasin printing.
Navaboonniyom, K. (2017). The effect of cold herbal wrap on the knee pain of the elderly in the municipality, Don Tan subdistrict, Don Tan district, Mukdahan province. (Master’s Thesis). Surindra Rajabhat University. Surin.
Phrapalad Somchai Payogo (Damnoen), PhramahaWeeratisVarinto (Inthapho), & Chaivoramankul, Y. (2020). The Active Ageing in Buddhist Way Index Development of the Elderly in Retired Government Official Group. Solid State Technology, 63(2s), 1333-1341.
Phrapalad Somchai Payogo, & Sudsukh, U. (2015). Buddhist integration of caring for Chronic diseases in Thai society. Journal of MCU peace studies, 3(2), 45-64.
Pingwong, B., & Chanraeng, T. (2016). An Integration of Thai Traditional Medicine with Health Care according to Buddhism guidelines: A Case Study of Health Promoting Temple in the Northem Region. Journal of Graduate Research, 7(2), 195-206.
Poomsanguan, K. (2014). Health and Health Promotion: Nurses’ Important Role. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(2), 10-14.
Rattanachon, M. (2017). Effect of The Application of press The Meridian to Reduce Neck and Shoulderpain Practician in Dhamm Medicine at Suanpanaboon 2, Cha-Uat Distric, Nakonsithammarat Province. (Master’s Thesis). Surindra Rajabhat University. Surin.
Sirisunthorn, P. (2016). Documentary for teaching about culture and health. N.P: Phitsanulok, Faculty of Nursing, Naresuan Universit.
Surasai, N. (2016). The Effectiveness of Health Promotion Buddhist Medicine base on Principles of Sufficiency Economy Philosophy Program on the Health Promoting Behavior and Health of Female Inmates in Nakhon Phanom Central Prison In Mueang District of Nakhon Phanom Province. (Master’s Thesis). Ubon Ratchathani Rajabhat University. Ubon Ratchathani.
Tangvinit, N. (2016). Integration of the Buddha Dhamma Principles and Holistic Health Care of the Elderlies. Bulletin of Suanprung, 32(2), 47-65.
Thanawut, W. (2010). Instant Happiness. (3rd ed.). Bangkok: Siampiritus.