มโนทัศน์การเดินทางกับการมองธรรมชาติในวรรณกรรมการเดินทางไทย ตั้งแต่สมัยอยุธยา-รัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์

Main Article Content

กิติราช พงษ์เฉลียว
กีรติ ธนะไชย
โสภี อุ่นทะยา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนทัศน์การเดินทางกับการมองธรรมชาติในวรรณกรรมการเดินทางไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา-รัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ตีความจากเอกสารซึ่งจะศึกษาตัวบทวรรณคดี ประเภทของตัวบทจะใช้ตัวบทวรรณกรรมนิราศและจดหมายเหตุบันทึกการเดินทางทั้งประเภทร้อยแก้วและร้อยกรองเป็นหลัก ขอบเขตด้านเวลาของตัวบท จะศึกษาวรรณกรรมการเดินทางเริ่มตั้งแต่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในสมัยอยุธยาจนถึงยุคสมัยการปรับเปลี่ยนประเทศให้ทันสมัย ผลการศึกษาพบว่า มโนทัศน์การเดินทางกับการมองธรรมชาติปรากฏอยู่ 3 ลักษณะ คือ 1) ธรรมชาติในฐานะเพศหญิง 2) ธรรมชาติในฐานะผู้ทำลาย และ 3) ธรรมชาติในฐานะผู้ปกป้องคุ้มครอง ซึ่งการเดินทางในสมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์ยังเต็มไปด้วยความยากลำบาก อุปสรรคหนึ่งของการเดินทางคือธรรมชาติที่ผู้เดินทางต้องฝ่าฟันเพื่อให้ถึงจุดหมายของการเดินทาง และด้วยสำนึกต่อธรรมชาติทั้งด้านดีและด้านร้าย รวมถึงการมองธรรมชาติเฉกเช่นสถานะเดียวกับเพศหญิง จึงก่อให้เกิดมโนทัศน์ต่อธรรมชาติด้านดี คือ ธรรมชาติในฐานะผู้ปกป้องคุมครองผู้เดินทาง และมโนทัศน์ต่อธรรมชาติด้านร้ายในฐานะอุปสรรค ผู้ทำลาย ก่อให้เกิดภัยอันตราย เป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง รวมถึงการมองธรรมชาติในฐานะเพศหญิง ซึ่งธรรมชาติจะปกป้องหรือทำลายมนุษย์นั้นส่วนหนึ่งมาจากตัวมนุษย์เองถ้ามนุษย์ประพฤติดี อยู่ในศีลธรรม ให้ความเคารพต่อธรรมชาติ ธรรมชาติก็จะเป็นผู้ปกปักรักษาการเดินทางในครั้งนั้นให้ถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย แต่ถ้ามนุษย์ไม่อยู่ในศีลธรรม มีความโลภ ล่วงเกินและทำลายธรรมชาติมนุษย์ก็จะได้รับผลร้าย ถูกธรรมชาติทำลายเช่นเดียวกัน แนวคิดเช่นนี้ส่วนหนึ่งได้รับคติความเชื่อทางพุทธศาสนาที่เป็นรากฐานรวมถึงความเชื่อดั้งเดิมของพื้นถิ่น ความเชื่อเรื่องผี รวมถึงความเชื่อต่าง ๆ ในการเดินทางที่แตกต่างกันไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chulachomklao Chao Yu Hua, King Rama 5. (1914). Literature of King Rama 5 of Rattanakosin Period. Bangkok: Vajirayana.

Coltman, M. (1989). Tourism Marketing. New York: Van Nostr and Reinhold.

Mahanuphab. (2010). Nirat Guangdong or Nirat Phrayamahanuphab. Bangkok: Cementhai Foundation.

Phra Buddha Yodfa Chulaloke, King Rama 1. (1921). Literature of King Rama 1 of Rattanakosin Period. Bangkok: Fine Arts Department.

Sangkhaphanthanon, T. (2009). Ecocriticism: Discourse Of Nature And Environments In Thai Literature. (Doctoral Dissertation). Naresuan University, Phitsanulok.

_______. (2013). Ecocriticism in Thai Literature. Bangkok: Nakhon.

Sunthonwohar. (1967). Nirat Suphan. Bangkok: Fine Arts Department.

Thompson, C. (2011). Travel Writing. New York: Routledge.