รูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยแนวทางพุทธสันติวิธี: กรณีศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสภาทนายความ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

Witool Nuyimsai
Phramaha Hansa Dhammahaso
Banpot Tonteerawong

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับรูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสากลและรูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสภาทนายความ 2) เพื่อศึกษารูปแบบในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อเสนอรูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสภาทนายความโดยแนวทางพุทธสันติวิธี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจากสภาทนายความจำนวน 9 ท่าน ด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสากลจำนวน 6 ท่านและด้านพระพุทธศาสนาเถรวาทจำนวน 5 ท่าน


              ผลการศึกษาวิจัยพบว่า รูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสภาทนายความมีความสอดคล้องกับหลักการ วิธีการ และกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสากล ในด้านกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางพุทธศาสนาเถรวาทเป็นแนวปฏิบัติตามหลักพุทธสันติวิธีโดยยึดหลักอริยสัจ4 ส่วนรูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสภาทนายความโดยแนวทางพุทธสันติวิธี ประกอบด้วยรูปแบบด้านคุณสมบัติของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มีคุณสมบัติภายในคือ เป็นผู้มีสติ มีขันติ ไร้อคติ และมีเมตตา คุณสมบัติภายนอกคือ มีกัลยาณมิตรธรรม มีศีลธรรม และมี
คารวธรรม ด้านวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคือมีบทบาทด้านเมตตาตามหลักสาราณียธรรมและใช้เทคนิคที่เป็นทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา และด้านกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มีขั้นตอนของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 5 ขั้นตอน คือ 1) ตั้งต้นวิเคราะห์ทุกข์ 2) เปิดมุขด้วยปิยวาจา 3) ใช้เมตตาค้นหาประเด็น 4) ร่วมคิดเห็นอย่างไร้อคติ และ 5) มุ่งมิติอภัยทาน

Article Details

บท
บทความวิจัย