กระบวนการการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอ “กระบวนการการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี” การวิจัยครั้งนี้ การวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed-Methods Research Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือพนักงานองค์กรด้านการให้บริการ จำนวน 17 คน ได้มาโดยการกำหนดคุณสมบัติดังนี้ พนักงานที่เข้าร่วมวิจัยต้องเป็นผู้ที่ใช้การสื่อสารภายในองค์กรทั้งราบและทางดิ่งตั้งแต่ระดับพนักงานชำนาญการจนถึงพนักงานระดับบริหาร มีประสบการณ์ในการทำงานมาไม่น้อยกว่า 1 ปีขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือเครื่องบันทึกเสียง การถ่ายภาพ การจดบันทึกข้อมูล ระบบคอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แบบอุปนัยโดยการตีความสร้างข้อสรุปจากข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และที่ได้จากแบบสัมภาษณ์ ตามกรอบแนวคิดในการวิจัยดูความสมบูรณ์ของข้อมูลนั้น ว่าสามารถตอบคำถามตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ครบแล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ในรูปแบบการบรรยาย โดยมีขั้นตอน ดังนี้1) ข้อมูลจากการศึกษาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมาจัดแยกประเด็นและหมวดหมู่ตามความมุ่งหมายในการวิจัย2) ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ นำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive and analytic Study) โดยการนำข้อมูลเบื้องต้นมาวิเคราะห์แยกประเภทหาข้อสรุป แล้วเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำมาวิเคราะห์ขั้นสุดท้าย สำหรับสร้างข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ และนำมาเป็นฐานในการสร้างชุดฝึกอบรมกระบวนการการสื่อสารเสริมเพื่อเสริมสร้างสันติสุขในองค์กรโดยพุทธสันติวิธี
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุข ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ S : Sammadhiti : (Right Understanding) การมองเห็นตามความเป็นจริง A: Aligned by listening (Align yourself with others by listening): การฟังแบบเป็นระนาบเดียวกัน M: Mindfulness: การมีสติกับปัจจุบันขณะสื่อสาร E: Empathy: การเอาใจใส่กับผู้ที่กำลังสื่อสารด้วย Peace: Peace Messages: การสื่อสารด้วยสารสันติ
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chakorn, K (2014). Improving Organizational communication. Foreign Affairs Executive Programe6, Ministry of foreign Affairs.
Jenwithisuk, T. (2011). The Buddhist Communication and the Social Change. Doctoral program in Buddhist Studies Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tipitakas. Bangkok: MCU Press
Mansumitrchai, P. A Model of Nonviolent Communication through Buddhist Psychology. Journal of MCU Peace Studies. 5 (3), 66-67
Rosenberg, M, Ph.D. (2018).The Heart of Nonviolent Communication (NVC). Retrieved, June 3, 2018[Https://Www.Nonviolentcommunication.Com/Freeresources Article_ Archive /Heartofnvc_Mrosenberg.Htm.
Office of the National Economic and Social Development Council (2017), Gross Domestic Product for SME Repot 2017, 7-8 Retrieved Feb 27, 2018, from https://www. sme.
Petpaisit, C. (2014). Communication, Organizational Culture, and Trust Influencing. Master of Business Administration, Graduate school: Bangkok University.
Phugkaew, V. (2015). Buddhist Peaceful Means for Reach Registered Nurses of Wihandaeng Hospital in Saraburi Province to Reach Happiness. Degree of Master of Art (Peace Studies) in Buddhist Studies Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Thairat Online. (2018). be angry, a worker shoot his supervisor. Retrieved 2 June, 2018, from https://www.thairath.co.th/content/293746
Twenge, J. and Campbell, S. (2013). Generational differences in psychological traits and their impact on the workplace. Retrieved June 6, 2018 from https://www. Emerald insight.com/doi/abs/10.1108/02683940810904367
Wattanasathiensin, P. (2016).Factors That Effect Communication Problems within an Organization. Master of Business Administration, Graduate school, Thammasat University.