วิเคราะห์เชิงวิพากษ์แนวคิดว่าด้วยทศพิธราชธรรมในพระพุทธศาสนาคือธรรมาภิบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยชิ้นนี้ เป็นการศึกษาเชิงเอกสารโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เชิงวิพากษ์แนวคิดว่าด้วยทศพิธราชธรรมในพระพุทธศาสนาคือธรรมาภิบาล จากการศึกษาพบว่า ทศพิธราชธรรมในพระพุทธศาสนามีฐานคิดแบบทฤษฎีคุณธรรมให้ความสำคัญกับการเป็นคนดีและผู้นำที่ดี ส่วนธรรมาภิบาลมีฐานคิดแบบทฤษฎีหน้าที่ให้ความสำคัญกับกฎ ระบบ หรือโครงสร้างที่ดี ด้วยเหตุนี้ในแง่หลักการแม้จะสามารถอธิบายและขยายความให้หลักทศพิธราชธรรมในพระพุทธศาสนามีความหมายตรง สอดคล้อง และครอบคลุมถึงหลักธรรมาภิบาลได้ก็ตาม แต่ก็มีปัญหาในแง่ฐานคิด เพราะทศพิธราชธรรมหมายถึงคน ส่วนธรรมาภิบาลหมายถึงระบบหรือโครงสร้าง และที่สำคัญยังมีหลักการบางข้อของทั้ง 2 แนวคิดที่ไม่สามารถมีความหมายสอดคล้องเชื่อมโยงถึงกันได้อีกด้วย การกล่าวว่าทศพิธราชธรรมในพระพุทธศาสนาคือธรรมาภิบาลจึงไม่ถูกต้องทั้งในแง่ฐานคิดและหลักการ ส่วนธรรมาภิบาลที่ใช้ในสังคมไทยได้มีการเพิ่ม “หลักคุณธรรม” ให้เป็นหลักการหนึ่งในระบบธรรมาภิบาล เพื่อเปิดพื้นที่ให้คุณธรรมทางศาสนามีทศพิราชธรรมเป็นต้นเข้ามาอยู่รวมอยู่ในระบบธรรมาภิบาล จึงทำให้หลักธรรมาภิบาลมีองค์ประกอบทั้ง 2 ส่วน คือ คนหรือผู้นำ และระบบหรือโครงสร้าง ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีองค์รวมถึงกระนั้นทศพิธราชธรรมเป็นเพียงหลักการหนึ่งของธรรมาภิบาลเท่านั้น นอกจากนี้ในเชิงปฏิบัติของสังคมไทยยังมีการนำหลักการทั้ง 2 ไปประยุกต์ใช้ทั้งในระดับปัจเจกและระดับโครงสร้างอีกด้วย ซึ่งถือว่าเกินขอบเขตฐานคิดและหลักการเดิมของทั้ง 2 แนวคิด
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร