การพัฒนาสมรรถนะครูที่ปรึกษาตามแนวคิดการมีสติและการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน

Main Article Content

Yupavadee Krukgulthorn
์Nusara Namdej
Suda Dejpituksirikul
Kanjana Onnuam

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาพฤติกรรมและปัญหาสุขภาพจิตของเด็กนักเรียนและสภาพการทำหน้าที่ให้คำปรึกษาของครูที่ปรึกษา ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี  2) เปรียบเทียบสมรรถนะครูที่ปรึกษา ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะครูที่ปรึกษาโดยใช้กระบวนการพัฒนาตามแนวคิดการมีสติและการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้ให้คำปรึกษานักเรียน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะครูที่ปรึกษา แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก แบบสอบถามพฤติกรรมนักเรียน และแบบสัมภาษณ์ครูที่ทำหน้าที่ครูที่ปรึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วย  ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิติที (t test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วย content analysis


         ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมต้น 653 คน มีปัญหาที่ต้องการการดูแลช่วยเหลือจำนวน 272 คน คิดเป็นร้อยละ 41.65%  ปัญหาที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ ปัญหาครอบครัว ติดเกมและความขัดแย้งกับเพื่อน คิดเป็นร้อยละ 6.28 3.52 และ 2.76 ตามลำดับ นอกจากนี้ในการทำหน้าที่ให้คำปรึกษาของครูที่ปรึกษา พบว่า ในโรงเรียนไม่มีครูที่ปรึกษาปัญหาพฤติกรรมและปัญหาสุขภาพจิตโดยตรง ครูไม่มั่นใจในทักษะการให้คำปรึกษา 2) คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการให้คำปรึกษาของครูที่ปรึกษา ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
Krukgulthorn, Y., Namdej ์., Dejpituksirikul, S., & Onnuam, K. (2018). การพัฒนาสมรรถนะครูที่ปรึกษาตามแนวคิดการมีสติและการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(4), 1541–1555. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/144030
บท
บทความวิจัย