การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและการทำงานของนักเรียน นักศึกษา สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ

Main Article Content

วรารัตน์ ทิมหงิม
จอมขวัญ สุวรรณรักษ์
วิชัย เจริญธรรมานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำคัญของกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) วิเคราะห์องค์ประกอบกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 3) พัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารและครูที่มีการสอนหรือการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนสาขาอาหารและโภชนาการ จำนวน 25 คน และกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน นักศึกษาสาขาวิชาอาหารแผนกอาหารและโภชนาการ ที่ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาในเขตภาคกลาง จำนวน 331 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสำคัญของกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2) ผลวิเคราะห์องค์ประกอบกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้ 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 2.1) องค์ประกอบด้านสังคม (Society) ประกอบด้วย การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นมิตรต่อผู้ร่วมงาน ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เสียสละประโยชน์ของตนเองเพื่อส่วนรวม 2.2) องค์ประกอบด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creative) ประกอบด้วยมีความคิดสร้างสรรค์และการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ สร้างเป้าหมายและพัฒนาตนเองเพื่อไปสู่เป้าหมาย 2.3) องค์ประกอบด้านการปรับเปลี่ยน (Change) ประกอบด้วย สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ทุกสถานนการณ์ตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีทัศนคติเชิงบวกในการทำงาน และ  3) รูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้วิจัยพัฒนา ชื่อ “S2C Model” เป็นรูปแบบของกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างสังคมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาตนเอง และสร้างเป้าหมายให้กับธุรกิจ ด้วยการทำงานอย่างเป็นระบบขั้นตอนตามหลักการ PDCA เพื่อการปรับเปลี่ยนตนเองและธุรกิจให้เป็นไปได้ในทางที่ดี

Article Details

How to Cite
ทิมหงิม ว. ., สุวรรณรักษ์ จ. ., & เจริญธรรมานนท์ ว. . (2024). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและการทำงานของนักเรียน นักศึกษา สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(4). สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/1383-1394
บท
บทความวิจัย

References

Duanginta Y., & Renliang, L. (2023). Characteristics of Thai Youth’s Social Creative Thinking Promotion in Thailand 4.0 Era. Journal of MCU Peace Studies, 11(5), 1825-1838.

Joseph, F. H. (2006). Multivariate Data Analysis Pearson International. (6th ed.). New Jersey, USA: Pearson Prentice Hall.

Nokkaew, P. (2019). Life and Career Skills in the 21st Century of Secondary 3 (Grade 9) Students in Samut Prakan Province. (Master’s Thesis). Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Pathum Thani.

Office of Educational Research and Development, Office of the Secretariat of the Education Council, Ministry of Education. (2014). Guidelines for Thai Education Development and Preparation for the 21st Century. (Research Report). Bangkok: Office of the Education Council.

Office of Educational Research and Development, Office of the Secretariat of the Education Council, Ministry of Education. (2021). Essential Skills of the Future (Future Skills) to Prepare for Quality Development Thai People of All Ages Supports Rapid Change (Disruption) of the 21st Century World: Study Results and Guidelines for Promotion (Research Report). Bangkok: Office of Educational Research and Development, Office of the Secretariat of the Education Council.

Office of the Vocational Education Commission. (2022). Policy and focus of the Vocational Education Commission Office. Retrieved November 2, 2021, from https://bpp.vec.go.th/Portals/64/Work/>

Panich, V. (2012). Way of Learning for Students in the 21st Century. Bangkok: Sodsri-Saritwong Foundation.

Partnership for 21st Century Skills. (2023). Framework for 21st Century Learning. Retrieved October 8, 2023, from http://static.battelleforkids.org/documents/p21/P21_Framework_Brief.pdf

Penrattanahiran, R. (2022). An Analysis of Problems and Guidelines for Enhance 4Cs Skills of Primary, Faculty of Education, School Students under Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 3. Journal of MCU Peace Studies, 11(5), 675-690.

Phrarachpariyattiwimol, & Phrakhrupalad Suriya Chavanapanyo. (2023). Model Development for Enhancing Immunity Against Economic Crisis in the New Normal Era of Thai People in the 21st Century with Buddhist Principles. Journal of MCU Peace Studies, 11(5), 1868-1882.

Silpcharu, T. (2020). Statistical Data Research and Analysis with SPSS and AMOS. (18th ed.). Bangkok. Business R&D General Partnership.

Wangsrikoon, A. (2014). Thai Education in the 21st Century: Output and Development Guidelines. Humanities and Social Sciences Journal of Graduate School, 8(1), 1-17.

Woonwong, Y., Phetmalaikul, T., Ployduangrat, J., & Boontima. R., (2018). Strategies for Learner Development Activities Management to Enhance Life and Career Skills of Secondary School Students. Sripatum Chonburi Academic Journal, 14(4), 159-170.