แนวทางการบริหารหนี้สินเกษตรกรไทย

Main Article Content

Kawin Musika

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเพื่อหาแนวทางการบริหารหนี้สินเกษตรกรไทยที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับภาวะหนี้สินเกษตรกรไทยในปัจจุบัน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เกษตรกรที่เคยเป็นหนี้ในอดีตและสามารถฟื้นตัวได้ในปัจจุบัน จำนวน 200 คน ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลด้านการเกษตร จำนวน 10 คน และเจ้าหนี้นอกระบบ 5 คน และการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนหน่วยงานที่ดูแลหนี้สินเกษตรกรไทย จำนวน 10 คน


          ผลการวิจัยพบว่า


          แนวทางการบริหารหนี้สินเกษตรกรไทยที่มีประสิทธิภาพสามารถทำได้ดังนี้ ภาคเกษตรกร 1) การจัดทำบัญชีครัวเรือน 2) การชำระหนี้ตามกำหนด 3) การเข้าถึงแหล่งเงินทุนและกู้เงินในระบบ หลีกเลี่ยงการกู้เงินนอกระบบ 4) การปลูกพืชไร่สวนผสม 5) มุ่งเน้นคุณภาพผลผลิตและความต้องการของตลาด 6) สร้างเครือข่ายและรวมกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง และ 7) น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ภาครัฐ 1) ประกันราคาผลผลิตและหาตลาดเพื่อรองรับและช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ 2) ให้ความรู้การปลูกพืชให้เหมาะสมสภาพอากาศ  3) ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ขยายวงเงินกู้และเพิ่มช่องทางการเข้าถึง 4) สนับสนุนเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และการพัฒนาฝีมือแรงงานภาคการเกษตร 5) การลดต้นทุนการผลิต โดยการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐาน เช่น ปุ๋ย ยา เมล็ดพันธ์ และปัจจัยอื่น ๆ ในการผลิตและการต่อยอดไปสู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายออกสู่ตลาด 6) ส่งเสริมการสร้างวินัยทางการเงินและให้ความรู้ด้านการจัดทำบัญชีครัวเรือน 7) ให้คำปรึกษาโครงการและปัญหาต่าง ๆ และการบริหารจัดการความเสี่ยงแก่เกษตรกร และ 8) ให้ความรู้ในการจัดการระบบการเงินและการบริหารจัดการหนี้อย่างเป็นระบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย