การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการจัดการห่วงโซ่ธุรกิจปลานิล

Main Article Content

Puncharas Wattanapaiboon
Suchonnee Methiyothin
Issara Suwannabon

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทสถานการณ์ปัญหาและอุปสรรคในการการจัดการห่วงโซ่ธุรกิจปลานิล เพื่อหาแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการจัดการห่วงโซ่ธุรกิจปลานิล โดยใช้รูปแบบการแบบผสานวิธี ประกอบไปด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นจากเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล


            ผลการวิจัยพบว่า


            ปัญหาและอุปสรรคในการการจัดการห่วงโซ่ธุรกิจปลานิล คือ ต้นน้ำ ได้แก่ 1) ต้นทุนในการผลิตปลานิลสูง 2) การขาดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ 3) ขาดแคลนเทคโนโลยี 4) ขาดแคลนที่ดิน 5) ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง 6) โรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7) ขาดพันธุ์ปลานิล 8) ขาดคุณภาพและมาตรฐาน 9) นโยบายภาครัฐไม่เอื้อต่อการปฏิบัติ 10) ขาดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชนและเกษตรกร กลางน้ำ ได้แก่ 1) ถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง 2) ขาดการรวมกลุ่มของเกษตรกร และ ปลายน้ำ ได้แก่ 1) ราคาและกลไกตลาด    2) ขาดตลาด 3) ขาดการรณรงค์การบริโภคปลานิล การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการจัดการห่วงโซ่ธุรกิจปลานิล คือ ต้นน้ำ ได้แก่ 1) การเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ 2) การสนับสนุนปัจจัยการผลิต 3) เกษตรกรมีการรวมกลุ่มและภาคเอกชนมีส่วนร่วม 4) เพิ่มการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการบริหารจัดการห่วงโซ่ปลานิล 5) น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ 6) สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน กลางน้ำ ได้แก่ 1) สร้างความสามารถทางการแข่งขันในตลาด 2) สนับสนุนผู้นำกลุ่มให้มีความเข้มแข็ง และ ปลายน้ำ ได้แก่ 1) มีช่องทางในการจำหน่ายเพียงพอ 2) ส่งเสริมการสร้างรายได้และการขยายโอกาสจากการเลี้ยงปลานิลให้กับเกษตรกรและชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย