พฤติกรรมและความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการฉันภัตตาหารกับการปฏิบัติกิจวัตร ตามวิถีชีวิตของพระสงฆ์

Main Article Content

Patcharuch Onto
Koolarb Rudtanasudjatum
Vasuton Tanvatanakul
Sunisa Sangjun

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์1) พฤติกรรมการฉันภัตตาหาร 2) การปฏิบัติกิจวัตรตามวิถีชีวิตและ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการฉันภัตตาหารกับการปฏิบัติกิจวัตรตามวิถีชีวิตของพระสงฆ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นพระสงฆ์ 403 รูป ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายตามสัดส่วนประชากร เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลในรูปของ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดและการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า


            พฤติกรรมการฉันภัตตาหาร พบฉัน ชา กาแฟ และเครื่องดื่มชูกำลัง ทุกวัน ร้อยละ 56.1 ฉันบ่อยมาก คือ ขนมหวาน อาหารทอด และไข่ ร้อยละ 35.5, 31.5 และ 31.0 และฉันบ่อย คือ เนื้อไม่ติดมัน สัตว์ปีกติดหนัง และเนื้อติดมัน  ร้อยละ 33.5, 33.3 และ 29.5 ตามลำดับ พลังงานที่ได้จากการฉันภัตตาหารที่มีไขมันสูง  น้ำตาลสูง และอาหารไขมันต่ำ เฉลี่ย(+SD) 445.87 + 300.04, 292.45  +120.34 และ 171.65 +99.49 แคลลอรี่/วัน ตามลำดับ


            การปฏิบัติกิจวัตรตามวิถีชีวิตของพระสงฆ์ พบว่า เดินบิณฑบาตเลี้ยงชีพ เฉลี่ย 1.19  +1.1 กิโลเมตร/วัน ระยะเวลาสวดมนต์ไหว้พระ ลงอุโบสถ กวาดวิหารลานเจดีย์ และเดินวิปัสสนา เฉลี่ย 22.32 +31.99, 21.82 +27.90, 15.48 +26.05, และ 5.13 +20.27 นาที/วัน ตามลำดับ และพบมากกว่า ร้อยละ 96 ไม่มีการปฏิบัติกิจอื่นนอกเหนือจากกิจของสงฆ์


            พลังงานโดยรวมจากพฤติกรรมฉันภัตตาหารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติกิจวัตรตามวิถีชีวิต และการฉันอาหารไขมันต่ำ สัมพันธ์ทางบวกกับและแยกประเภท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ p<.01 ดังนั้นพระสงฆ์และผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรมีมาตรการลดพฤติกรรมฉันภัตตาหารที่มีไขมันสูง  น้ำตาลสูง และเพิ่มกิจวัตรการปฏิบัติตามกิจของพระสงฆ์ให้มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย