รูปแบบโรงทานตามแนวพระพุทธศาสนาในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องการให้ทานและโรงทานในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาโรงทานตามแนวพระพุทธศาสนาในสังคมไทย และ 3) เพื่อวิเคราะห์การให้ทานผ่านโรงทานตามแนวพระพุทธศาสนาในสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่า
1) การให้ทานเป็นคำสอนที่พระพุทธเจ้าสอนสาวกของพระองค์ทั้งสาวกฝ่ายบรรพชิต (ภิกษุ-ภิกษุณี) และสาวกฝ่ายคฤหัสถ์ (อุบาสก-อุบาสิกา) ทรงสอนว่าธรรมทานเลิศกว่าอามิสทาน เพราะธรรมทานจะให้แนวปฏิบัติเพื่อพัฒนาชีวิตสู่ความเป็นอริยบุคคลได้ ขณะเดียวกันก็สอนอามิสทานในฐานะปัจจัยหล่อเลี่ยงชีวิตที่พระสงฆ์ได้ต้องรับจากคฤหัสถ์ ในการให้ทานนั้นสามารถให้ได้ทุกสถานที่ แต่ก็มีการกำหนดสถานที่ให้ทานเป็นการเฉพาะเรียกว่า โรงทาน ได้แก่ สถานที่สำหรับแจกจ่ายสิ่งของที่ใช้ในการดำรงชีวิตมีอาหารเป็นต้นเพื่อเป็นการกุศล โรงทานในคัมภีร์พระพุทธศาสนามี 3 ประเภท คือ (1) โรงทานที่ตั้งถาวร เปิดบริการตลอดเวลา (2) โรงทานที่ตั้งบางช่วงเวลา และ (3) โรงทานที่ตั้งเฉพาะเกิดเหตุการณ์สำคัญ
2) โรงทานในสังคมไทยตั้งขึ้นตามค่านิยมเรื่องทานของหลายภาคส่วน คือ (1) พระพุทธ ศาสนา (2) ศาลเจ้า โรงเจ (3) หน่วยงานภาครัฐด้านสังคมสงเคราะห์ และ (4) มูลนิธิจิตอาสา องค์กรอาสาสมัครภาคประชาชน มีการตั้งโรงทานในสังคมไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน จำแนกโรงทานได้ 3 ประเภท
3) การให้ทานผ่านโรงทานตามแนวพระพุทธศาสนาในสังคมไทยเป็นกิจกรมที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ทั้งในหมู่พระสงฆ์ ส่วนราชการ เอกชนและประชาชนทั่วไป พบว่าสิ่งของที่แจกในโรงทานส่วนมากเป็นอาหารและเครื่องดื่ม บางแห่งมีของจำนวนมากเกินไป รายการสิ่งของก็ซ้ำกัน ทำให้มีของเหลือเป็นจำนวนมาก จึงเห็นว่าควรมีการปรับปรุงแนวทางใหม่
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร