การศึกษาวิเคราะห์พุทธจิตวิทยาในพระไตรปิฎก

Main Article Content

Phrakrupalad Marut Waramanggalo

บทคัดย่อ

ในงานวิจัยฉบับนี้ผู้วิจัยมุ่งที่จะศึกษาศึกษาวิเคราะห์พุทธจิตวิทยาในพระไตรปิฎกโดยผู้วิจัยกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ ๒ ประการ (๑) เพื่อศึกษาถึงประวัติและพัฒนาการของจิตวิทยาในตะวันตก (๒) เพื่อศึกษาถึงแนวคิดเรื่องพุทธจิตวิทยาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท  (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องพุทธจิตวิทยาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทกับการประยุกต์ใช้กับสังคม


ผลการวิจัยพบว่า 


          แนวคิดเรื่องพุทธจิตวิทยานั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตและกระบวนการทำงานของจิตที่พระพุทธศาสนาถือว่าจิตนั้นมีพลังในการควบคุมกาย แต่ถึงอย่างนั้นจิตก็ไม่ได้เป็นเอกเทศจากกายเพราะจิตกับกายจะต้องทำงานแบบอิงอาศัยซึ่งกันและกัน ในแง่อภิธรรมจิตมนุษย์หรือสัตว์มีความละเอียดอ่อนสามารถจำแนกประเภทได้อย่างหลากหลาย เมื่อนำแนวคิดเรื่องพุทธจิตวิทยามาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบกับแนวคิดเรื่องจิตวิทยาตะวันตกก็จะพบว่า จิตวิทยาตะวันตกศึกษาจิตและกระบวนการทำงานของจิตในแง่ของพฤติกรรมภายนอกด้วยการพิสูจน์ทดลองโดยหลักวิทยาศาสตร์ แต่พุทธจิตวิทยานั้นศึกษาจิตและกระบวนการทำงานของจิตในแง่ของการปฏิบัติเพื่อฝึกฝนจิตด้วยการปฏิบัติธรรมทั้งในด้านสมถะและวิปัสสนากรรมฐานโดยมุ่งทำให้จิตมีศักยภาพที่จะสามารถเอาชนะหรือควบคุมกิเลสได้


          เมื่อวิเคราะห์แนวคิดเรื่องพุทธจิตวิทยาในพระไตรปิฎกพบว่า แนวคิดเรื่องจิตในทางพระพุทธศาสนานั้นสามารถที่จะนำไปปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตและสังคมได้หลายประการทั้งในเรื่องของการเรียนรู้ การเรียนการสอน การพัฒนาตนเองและการแก้ไขปัญหาเรื่องทุกข์ด้วยการให้คำปรึกษาเชิงพุทธ ซึ่งเป็นวะการที่พระพุทธองค์ทรงนำไปใช้ได้ผลมาแล้ว

Article Details

บท
บทความวิจัย