การประยุกต์การประพฤติพรหมจรรย์เพื่อพัฒนาจริยธรรมในสังคมไทย

Main Article Content

Phramaha Boonsang Jitritherm
Phramaha Somboon Vuddhikaro
Samiddhipol Netnimit

บทคัดย่อ

บทความน้ิมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการประพฤติพรหมจรรย์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาปัญหาการประพฤติพรหมจรรย์ในสังคมไทย และ3) เพื่อประยุกต์การประพฤติพรหมจรรย์เพื่อพัฒนาจริยธรรมในสังคมไทย


ผลการวิจัยพบว่า 1) การประพฤติพรหมจรรย์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนากล่าวคือมีจุดประสงค์เพื่อรักษาพระธรรมวินัยของพระภิกษุ ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งของพระพุทธศาสนา เพราะบุคคลใดที่รักษาพระธรรมวินัย ย่อมได้ชื่อว่ารักษาพระพุทธศาสนา การประพฤติพรหมจรรย์จะบริบูรณ์ได้ นอกจากจะเว้นจากเมถุนวิรัติ คือการเสพเมถุนโดยตรงแล้วต้องเว้นจากเมถุนสังโยคอย่างเด็ดขาด เพราะว่าเมถุนสังโยคทั้ง 7 เป็นเครื่องเศร้าหมองแก่พรหมจรรย์ เป้าหมายและผลของพรหมจรรย์ในทางพระพุทธศาสนา คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะหรือเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ 


2) ปัญหาการประพฤติพรหมจรรย์ในสังคมไทยอันดับแรกปัญหาสำหรับการประพฤติพรหมจรรย์ของบรรพชิต กล่าวคือกรณีผู้ที่บวชประพฤติพรหมจรรย์ที่เป็นพระภิกษุหรือสามเณรบางส่วน ปฏิบัติตนไม่เหมาะสมกับความเป็นสมณเพศเช่น ไม่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของชาวพุทธ และสร้างความมัวหมองให้กับพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้มักมิได้ใส่ใจในการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง จึงทำให้เกิดปัญหามากขึ้นทุกวัน และได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า ปัจจุบันตามวัดต่างๆ มักจะทอดทิ้งเรื่องของการฝึกอบรม ส่วนมากเจ้าอาวาสก็ไม่สนใจลูกวัด อุปัชฌาย์ก็ไม่สนใจสัทธิวิหาริก และอีกประเด็นที่สำคัญก็คือในสังคมปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างพระกับผู้หญิงมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นการสัมพันธ์ในแง่ของเพื่อนร่วมงาน ครูกับศิษย์หรือนักเรียนกับนักเรียน การพบปะหรือพูดคุยกับสตรีพระภิกษุสามารถที่จะทำได้ แต่การแสดงออกในลักษณะเหล่านี้ควรที่จะยืนอยู่บนฐานของสติ 


3) การประยุกต์การประพฤติพรหมจรรย์เพื่อพัฒนาจริยธรรมในสังคมไทยคือหลักศีล 5 จริยธรรมขั้นพื้นฐาน กุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเป็นพุทธจริยธรรมในระดับกลางและหลักกตัญญูกตเวที โดยความเชื่อมโยงกันกับทฤษฎีการพัฒนา สามารถประยุกต์เข้าเป็นคุณลักษณะจริยธรรมอันเป็นเป้าหมายเพื่อพัฒนาจริยธรรมในสังคมไทยได้ เพราะว่า คุณลักษณะจริยธรรมในสังคมไทยปัจจุบัน ซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะของคนในสังคมไทยที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย