Life, the Right to Live and Spiritual Death Based on the Buddhist Perspective
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอชีวิต สิทธิในชีวิต และการตายดีตามแนวพระพุทธศาสนา ซึ่งประกอบด้วยประเด็นหลัก 3 ส่วน คือ 1) ทัศนะเกี่ยวกับชีวิต ได้แก่ ความหมายของชีวิต ส่วนประกอบสำคัญของชีวิต คุณค่าของชีวิต 2) สิทธิในชีวิต ได้แก่ การได้รับการคุ้มครองดูแลเป็นพื้นฐาน การไม่ละเมิดชีวิตตนเอง 3) การตายดี ซึ่งเป็นอารมณ์ของปฏิสนธิจิต ได้แก่ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ และคตินิมิตอารมณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ทัศนะของพระพุทธศาสนาเสนอทัศนะเกี่ยวกับชีวิตไว้ว่า มนุษย์จะดีจะชั่วก็เพราะตัวเอง การที่มนุษย์สามารถบังคับตัวเองให้เป็นไปตามที่ต้องการ แสดงว่าเป็นเจ้าของชีวิตตนเอง และในฐานะเจ้าของชีวิต มนุษย์ย่อมมีสิทธิในชีวิตนั้น 2) สิทธิแห่งชีวิต พระพุทธศาสนายอมรับว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับสิทธิบางประการที่มนุษย์ทุกคนควรเคารพ และไม่ควรละเมิดซึ่งกันและกัน สิทธิดังกล่าวจำแนกได้ 2 ส่วน คือ สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ และสิทธิที่จะตาย 3) การตายดี คือ การตายอย่างมีสติ ด้วยการเจริญมรณสติ เพื่อจะได้เตรียมกายและใจให้พร้อม รู้เท่าทันความจริงของชีวิต มีสติระลึกถึงความดีที่ทำไว้ ไม่หลงตาย จะได้สามารถเชื่อมต่อความดีของตนเองในภพนี้และภพหน้า เมื่อตายลงจะได้ไปสู่สุคติหรือภพภูมิที่ดี ข้อค้นพบจากงานวิจัยชิ้นนี้ แสดงให้เห็นว่า ชีวิตนี้ต้องเป็นของเราเอง เราต้องเป็นเจ้าของชีวิต สามารถที่จะกำหนดชีวิตของเราเองให้มีความสุข หรือมีความทุกข์ได้ตามที่ตนเองปรารถนาและต้องการได้ รวมถึงกำหนดได้ว่าเราจะตายดีได้อย่างไร
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร