ศึกษาวิเคราะห์การจัดการความขัดแย้งของสามเณร ตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

Polkrish Dornthee

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาหลักการแนวคิดการจัดการความขัดแย้ง
โดยหลักพุทธสันติวิธี (2) เพื่อศึกษาการจัดการความขัดแย้งของสามเณรตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธ
ศาสนา (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การจัดการความขัดแย้งของสามเณรตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา
เถรวาท โดยผลการศึกษาพบว่า
1) การจัดการความขัดแย้งโดยหลักพุทธสันติวิธีนั้น คือ หลักปาฏิหาริย์ 3 อธิกรณสมถะ และ
อริยสัจ 4 ได้แก่ (1) ปัญหาความขัดแย้ง (2) สาเหตุความขัดแย้ง (3) การจัดการความขัดแย้ง (4) แนวทางใน
การจัดการความขัดแย้ง
2) การจัดการความขัดแย้งของสามเณรตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา พบว่า สามเณรได้
นำกระบวนการตามหลักพุทธสันติวิธีมาใช้ในการจัดการความขัดแย้งคือ 1) สติ ขันติ สันติ 2) อหิงสกวิธี
3) วาจาสุภาษิต 4) อิทธิบาท 5) ปมาณิกธรรม 6) อิทธิวิธี
3) การศึกษาวิเคราะห์การจัดการความขัดแย้งของสามเณรตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา
เถรวาททำให้ได้องค์ความรู้ใหม่ เรียกว่า ไตรวิทยา ได้แก่ 1) ทัศนวิทยา คือ ความฉลาดรอบรู้ 2) จิตวิทยา
คือ ความเข้าใจรู้จริง 3) ญาณวิทยา คือ ความชัดเจนแจ่มแจ้งด้วยปัญญา ด้วยสามเณรมีคุณสมบัติอย่างนี้
แล้ว จึงทำให้สามเณรทุกรูปที่ทำหน้าที่จัดการความขัดแย้งมีผล คือ สามารถจัดการเพื่อยุติความขัดแย้งระงับ
ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนาได้สำเร็จเสร็จสิ้นทุกคดีอันนำซึ่งความดีงามความเจริญมั่นคงมาสู่บวร
พระพุทธศาสนาตามที่ปรากฏมาดังนี้

Article Details

บท
บทความวิจัย