การมีส่วนร่วมของสตรีชาวพุทธในการเสริมสร้างชุมชนสันติสุข ในจังหวัดชายแดนภาคใต้: กรณีศึกษาชุมชนบ้านนอก ต.บ้านนอก อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี

Main Article Content

Phra Weerapot Phonjun

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


             บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาผลกระทบจากความรุนแรงของสตรีชาวพุทธในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อถอดบทเรียนการมีส่วนร่วมของสตรีชาวพุทธในการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของชุมชนบ้านนอก ต.บ้านนอก อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบภาคสนาม โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) แบ่งเป็น 5 กลุ่ม จำนวน 27 ท่าน


ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้สตรีชาวพุทธ เกิดความโศกเศร้าเสียใจ ความกลัว และความหวาดระแวง  ความยากลำบากในการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิต เป็นต้น ผลกระทบที่เกิดกับสตรีแบ่งได้เป็น 3 ด้าน (1) ด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต (2) ด้านเศรษฐกิจ 3) ด้านสังคม สตรีชาวพุทธมีส่วนร่วมในการสร้างสันติสุข ได้แก่ 1) ร่วมฟื้นฟูเยียวยาจิตใจให้กับสตรีที่ได้ผลกระทบ  2) ร่วมคิดร่วมสร้างความเชื่อมั่นในสันติวิธี 3) ร่วมนำหลักธรรมมาใช้ในการพัฒนาชีวิต  4) ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมชุมชนอย่างสร้างสรรค์ 5) ร่วมกันแก้ปัญหาก้าวข้ามความเห็นต่าง  6) ร่วมรักษาวิถีแห่งประเพณีวัฒนธรรม  7) ร่วมประสานใจด้วยวิถีการสื่อสารอย่างสันติ องค์ความรู้ใหม่ พลังสตรีชาวพุทธเพื่อสร้างสันติสุขในสามจังหวัดชายแดนใต้ เรียกว่า Buddhist Lady Power 4 Peace ’s Model อันประกอบด้วย L-G-W-S ได้แก่ L= Live together with love คือ การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข   G = Good economic community คือ  การสร้างอาชีพเพิ่มรายได้เสริมต่าง ๆ   W = Worldwide for peace คือ การมีโลกทัศน์กว้างอย่างสันติ  การหาข้อมูลความรู้ ให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงไปของสังคมโลกในปัจจุบัน และ S = Self-sufficient คือ ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ 


  

Article Details

บท
บทความวิจัย