ความเชื่อและการบูชาพระธาตุของชาวพุทธในล้านช้าง

Main Article Content

Phramaha Boonnam Parakkamo

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพระธาตุและการบูชาพระธาตุในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาความเชื่อและการบูชาพระธาตุของชาวพุทธในล้านช้าง และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อและการบูชา
พระธาตุของชาวพุทธในล้านช้าง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และ
การสัมภาษณ์เชิงลึก


          ผลการวิจัย พบว่า “พระธาตุ” มีความหมาย 2 บริบท คือ บริบทแห่งอัฐิธาตุของบุคคลสำคัญและบริบทแห่งสถานที่บรรจุพระอัฐิธาตุ บุคคลสำคัญมุ่งไปที่ผู้บรรลุธรรมแล้วโดยเฉพาะพระพุทธเจ้าจึงนิยมเรียกว่า “พระบรมสารีริกธาตุ” เรื่องราวเกี่ยวกับพระธาตุมีหลักฐานปรากฏในมหาปรินิพานสูตร หลังจากถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระศพแล้ว ได้มีการแบ่งพระอัฐิธาตุให้แก่เมืองและแว่นแคว้นที่ส่งทูตมาขอนำไปประดิษฐานในสถูปเพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชา ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า โดยมีวิธีการบูชา 2 อย่าง คือ อามิสบูชาและธัมมบูชา นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างพระธาตุและบูชาพระธาตุในพระพุทธศาสนาดินแดนล้านช้างมีคติการสร้างและการบูชาพระธาตุโดยมีการผสมความเชื่อดั้งเดิมที่นับถือผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์กับหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ทำให้ความเชื่อ แนวคิด จุดมุ่งหมายและวิธีการบูชาพระธาตุเปลี่ยนไปสู่ความผูกพันอยู่กับความศักดิ์สิทธิ์ พระธาตุมีคุณค่าต่อชาวพุทธในล้านช้างหลายประการ คือ คุณค่าทางศาสนา คุณค่าทางสังคม คุณค่าทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางจิตใจ การเปลี่ยนแปลงความเชื่อ แนวคิด จุดมุ่งหมายและวิธีการบูชาบูชาพระธาตุก่อให้เกิดผลกระทบต่อหลักการบูชาพระธาตุ หลักศรัทธาและการเข้าใจหลักธรรม แนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมในการบูชาพระธาตุนั้นต้องสอดประสานกันทั้งหลักการบูชาพระธาตุและจารีตประเพณีนิยม ควรให้ความรู้การบูชาพระธาตุที่ถูกต้องและให้ความสำคัญกับธัมมบูชาด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย